วารสารตำหนัก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru <p>วารสารตำหนัก</p> <p>ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p>ISSN 2985-105X (Print)</p> <p>ISSN 2985-1068 (Online) </p> <p> นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมภายใน โครงสร้างและเทคโนโลยีทางสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและการอนุรักษ์ การบริหารงานก่อสร้าง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> <p> </p> th-TH tamnakjournal@ssru.ac.th (Asst. Prof.Dr.Somboon Vess) tamnakjournal@ssru.ac.th (natthaphat chaiboon) Fri, 21 Jun 2024 14:53:44 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการลดจำนวนของเสียของวัสดุประเภทไม้แบบในงานก่อสร้างบ้าน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4629 <p>โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย คาดว่าการเปิดโครงการใหม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 10.0% หรือประมาณ 70,000 ยูนิตต่อปี ในช่วงปี 2565-2567 โดยผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มสัดส่วนการก่อสร้างบ้านแนวราบมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ชานเมือง รองรับความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง โดยได้แรงหนุนจากการขยายโครงข่ายการคมนาคมของภาครัฐ ทั้งโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและมอเตอร์เวย์ที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างชานเมืองสู่ตัวเมืองได้รวดเร็วขึ้น สมาคมรับสร้างบ้านระบุว่าราคาบ้านมีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มร้อยละ 5-8 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 (พุทธชาด ลุนคำ,2566)</p> <p>ไม้แบบ คือ โครงสร้างชั่วคราวที่ทำจากไม้ ใช้สำหรับติดตั้งเป็นแม่แบบในงานหล่อคอนกรีตและคอนกรีตเสริม สำหรับโครงสร้างและส่วนประกอบต่างของอาคาร เช่น เสา คาน พื้น ผนัง ถนน เป็นต้น&nbsp; โดยไม้แบบ จะมีหน้าที่รองรับน้ำหนักของคอนกรีต และสร้างขอบเขตในการเทให้คอนกรีตออกมาเป็นรูปแบบตามต้องการ เป็นวัสดุที่เป็นต้นทุนสำคัญในงานก่อสร้างบ้าน ดังนั้น การลดของเสียไม้แบบให้น้อยที่สุดในงานก่อสร้างบ้าน เป็นการบริหารต้นทุนการก่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยังสามารถช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการลดปริมาณการใช้ไม้ลงได้อีกด้วย</p> <p>งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการลดจำนวนของเสียไม้แบบ จากงานก่อสร้างบ้านโดยใช้แนวคิดจากลีนคอนสตรัคชั่น (Lean Construction) มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ได้แก่ 1.เพื่อหาสาเหตุการเกิดของเสียจากไม้ที่เกิดจากงานก่อสร้างบ้าน 2.เพื่อศึกษาแนวทางการนำแนวคิดเรื่องลีนคอนสตรัคชั่นมาใช้ในการลดจำนวนของเสียที่เกิดจากไม้</p> <p><strong>คำสำคัญ :</strong> ของเสียจากงานก่อสร้าง, ไม้แบบ, งานก่อสร้างบ้าน, ลีนคอนสตรัคชั่น</p> สุวรรณฉัตร บุญมี, พิชา ศรีพระจันทร์ Copyright (c) 2024 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4629 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4632 <p>การวิจัยเรื่องการศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพเชิงสัณนิษฐานย่านประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศึกษามรดกและทรัพยากรทางวัฒนธรรมตลอดจนประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินคุณค่าทรัพยากรทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ในลักษณะเชิงสำรวจ การสังเกตการสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ 5A ได้แก่ สถานที่ ท่องเที่ยว การเข้าถึงที่พัก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;สิ่งอำนวยความสะดวก การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวและระบุความโดดเด่นทางวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องซึ่งประกอบด้วย 3 เขตคือ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพจำนวน 47 แห่งโดยเป็นผลการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อมีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคสยามสมัยใหม่ (New Siam) ซึ่งได้เริ่มกระบวนการปฏิรูปหรือขบวนการทันสมัยโดยมีผลประเมินศักยภาพเรียงตามระดับคะแนนมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ วังปารุสกวันและป้อมพระสุเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วังบางขุนพรหม และพิพิธบางลำพู นอกจากนี้ยังพบว่าในหลายพื้นที่ยังมีทรัพยากรเชิงวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีเรื่องราว ความทรงจำ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมที่สืบสานจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่นตรอกละครชาตรี บ้านเต้นรำ บ้านศิลปะหรือบ้านนางเลิ้ง บ้านนราศิลป์ ตรอกบ้านพานถม ศาลเจ้าแม่ทับทิมวัฒนธรรมทางด้านอาหารในห้องอาหารแก้วเจ้าจอม โรงแรมวังสวนสุนันทา อาหารณวนในชุมชนบ้านมิตรคามและตลาดนางเลิ้งเป็นต้น ดังนั้นการรักษา และสืบสานให้มรดกเชิงวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่ให้สูญหายและยังทรงคุณค่ามีเอกลักษณ์นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวจึงควรมีแนวทางการเพิ่มศักยภาพทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน และแหล่งทรัพยากรเชิงวัฒนธรรม โดยมีการบูรณาการการทำงานการบริหารจัดการผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความพร้อมและความร่วมมือในการสร้างเอกลักษณ์และคุณค่าของแหล่งวัฒนธรรม เช่นการจัดกิจกรรม เส้นทางและโปรแกรมการท่องเที่ยว การสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกของชุมชนและแหล่งทรัพยากรการจัดทำแผนที่ชุมชนและภูมิปัญญาของมรดกทางวัฒนธรรม (Story Telling)โดยมาจากรากฐานของชุมชน เสริมสร้างความรู้เช่นความรู้ด้านธุรกิจ การตลาด การประชาสัมพันธ์การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารประกอบกับการเตรียมการสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสำหรับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การออกแบบสำหรับคนทุกคน (Universal Design)การเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมและการเชื่อมต่อระบบการสัญจรทั้งในปัจจุบันและอนาคต</p> <p><strong>คำสำคัญ :</strong> การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศักยภาพการท่องเที่ยว มรดกเชิงวัฒนธรรม พื้นที่สวนดุสิต</p> ทิสวรรณ ชูปัญญา, ณัฐวุฒิ กิ่งตระการ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4632 Fri, 29 Dec 2023 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้อากาศยานไรคนขับ(โดรน)ในการตรวจงานอาคารสูงและพื้นที่เสี่ยง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4630 <p>โครงการอาคารสูง มีผลต่อการแสดงศักยภาพของประเทศ เมือง หรือองค์กรนั้น ๆ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการก่อสร้างอาคาร และเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ซึ่งแต่ละองค์กรจะแข่งขันกันในรูปแบบต่าง ๆ ที่แสดงอกมาอย่างเห็นได้ชัด ในด้านเรื่องเวลาในการก่อสร้าง ความแปลกใหม่ของโครงสร้าง รูปลักษณะที่แตกต่างของอาคารกับอาคารอื่น ๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเห็นได้ซัดเป็นรูปธรรม และตัวของอาคารสูงเองก็เห็นได้ชัดจากที่ต่างและเป็นลักษณะเด่นในเมืองนั้น ๆ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดและมีผลกระทบตามมาคือความเสี่ยง ความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นในโครงการอาคารสูง ซึ่งมีผลต่อชีวิตของทุก ๆ คนที่เกี่ยงข้องกับโครงการ การมีระบบการควบคุมความปลอดภัยเป็นวิธีที่ดีและใช้ในหลาย ๆ โครงการ รวมถึงการมีผู้ตรวจสอบและผู้ควบคุมงานที่คอยตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อคอยสังเกตและวิเคราะห์พื้นที่ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดความเสี่ยงอัตราย แต่ในการขึ้นตรวจสอบงานในพื้นที่ที่เห็นว่ามีความเสี่ยง ย่อมจะมีความเสี่ยงในขณะขึ้นตรวจอยู่แล้วจึงจำเป็นจะต้องมีการใช้เครื่องมือในการการช่วยประเมินสถานการณ์แสดงผล และผู้ควบคุมงานสามารถวิเคราะห์ได้โดยปลอดภัย</p> <p>เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) นำมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้าง ช่วยในการตรวจงานอาคารสูง เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้ควบคุมงาน และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการประเมินสถานการณ์ บันทึก และแสดงผล ให้ผู้ควบคุมงานสามารถวิเคราะห์สถานการณ์หรือความเสี่ยงได้ก่อนขึ้นตรวจงานจริง เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการลดระยะเวลาในการขึ้นตรวจงาน และลดความเสี่ยงอันตรายในการเข้าพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดอันตราย อากาศยานไร้คนขับ(โดรน)สามารถแสดงให้เห็นถึงมุมมอง และภาพรวมของโครงการในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยผู้ตรวจงานสามารถนำอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) บินขึ้นตรวจงานเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ณ ขณะนั้นโดยรับสัญญาณภาพผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และสามารถบันทึกภาพถ่าย และวีดีโอ เพื่อนำมาวางแผน ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว</p> วิทวัส วรรณบูลย์ Copyright (c) 2024 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4630 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์เปรียบเทียบซอฟต์แวร์ทางสถาปัตยกรรมเพื่อการจัดการงานก่อสร้าง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4634 <p>ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการออกแบบโดยใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ในด้านงานสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะ โดยใช้หลักการสร้างระบบจำลองสารสนเทศอาคารหรือการสร้างรูปแบบจำลองข้อมูลอาคารการเขียนแบบก่อสร้างอาคารต่างๆ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ทำการศึกษาจะมี 2 โปรแกรมหลักด้วยกัน ได้แก่ 1. AutoCAD เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนา (CAD – Computer Aided Drafting) มีทั้งรูปแบบ 2D 3D และ 2. Revit ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ BIM ใช้แนวทางแบบองค์รวม (Building Information Modeling : BIM) โดยทำการศึกษาทั้งข้อดีข้อเสียและการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างการทำงานระหว่าง AutoCAD และ Revit โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยจากการทบทวนวรรณกรรมและรวบรวมขอมูลจากทฤษฎีที่เกี่ยวของกับเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้โปรแกรมที่นำเสนอผ่านทางข้อมูลและเนื้อหาที่นำมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับตามความถนัดและความเหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำแบบก่อสร้างตลอดถึงการควบคุมงานก่อสร้างเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อ สถาปนิก, บริษัทออกแบบ, เจ้าของโครงการ, วิศวกร <br>หรือผู้รับเหมา</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ซอฟต์แวร์ทางสถาปัตยกรรม, การจัดการงานก่อสร้าง</p> ชนิกามาศฐ์ ศรวิเศษ Copyright (c) 2024 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4634 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมตลาด และร้านค้าชุมชนต้นแบบ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น บ้านในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4635 <p>การวิจัยเรื่องการศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเพื่อเสนอแนวทางการออกแบสภาพแวดล้อมตลาด และร้านค้าชุมชนต้นแบบ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น บ้านในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมตลาดต้นแบบ และร้านค้าชุมชนที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเชิงพื้นที่ และเพื่อสร้างแนวทางของแบบผังสถาปัตยกรรม และร้านค้าชุมชนของวิสาหกิจชุมชนบ้านในวงใต้ การศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางการออกแบบพื้นที่เพื่อการพัฒนาต้นแบบ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รพ.สต. และผู้แทนภาคเอกชน จำนวน 35 คน ผู้จำหน่วยการอาหารในตลาดชุมชนทั้งหมด จำนวน 161 คน และนักท่องเที่ยว/ผู้ใช้บริการ จำนวน 246 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พบว่า ในพื้นที่บ้านวงในใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง จากภาพรวมในด้านของสถาปัตยกรรมในพื้นที่ปัจจุบัน ขาดความสอดคล้อง และไม่กลมกลืนกับธรรมชาติในพื้นที่ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ขาดเรื่องราวที่จะจูงใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เพิ่มขึ้น และเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้องอาศัยปัจจัยเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรม คือ แนวทางของสถาปัตยกรรมต้องอาศัยธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่มีงานสถาปัตยกรรมมาเป็นส่วนร่วม จะทำให้สามารถดึงนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายกลุ่มได้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาพื้นที่การสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นแหล่งซื้อขาย หรือตลาดของชุมชุน. &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เพื่อการท่องเที่ยว พร้อมทั้งในพื้นที่ต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อาชีพคนในพื้นที่ และรายได้ในด้านอื่นที่นอกเหนือจากการเกษตร พื้นที่บ้านวงในใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพของการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งอากาศ และทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ แต่เนื่องด้วยการประกอบอาชีพหลักของชุมชนที่ทำรายได้สูงคือการปลูกทุเรียนส่งออกต่างประเทศ ทำให้คนในชุมชนมีมุมมองเรื่องของการท่องเที่ยวในพื้นที่น้อย และไม่ให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยว หากมีการให้แนวทาง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีงานสถาปัตยกรรมมาเป็นส่วนร่วม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้ มีแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมตลาด โดยนำเอาลักษณะของเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เรียกว่า เรือนเกย ซึ่งเป็นเรือนเดี่ยว มาใช้เริ่มต้นในการออกแบบร้านค้า เนื่องจากเป็นเรือนเดียวมีการใช้พื้นที่ใช้สอยไม่ซับซ้อน คือมีเรือนนอน และระเบียงหรือเกย และเพิ่มหน้าจั่วของอาคารมีลายตะเว็น (ตะวัน) ประดับตามความเชื่อของชาวอีสาน</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>:</strong> อัตลักษณ์สถาปัตยกรรม, แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อม ,ตลาดและร้านค้าชุมชุนต้นแบบ ,การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น&nbsp;</p> สวลักษณ์ เชื้อสุวรรณ์ Copyright (c) 2024 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4635 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความเท่าเทียมระหว่างคนและพาหนะ ความปลอดภัยในการใช้ทางสัญจร ในพื้นที่เมือง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4636 <p>บทความนี้เป็นการรวบรวม และประมวล สรุปการวิเคราะลักษณะแนวทางและความเป็นไปได้ในการออกแบบลักษณะของทางข้ามในบริบทเมือง จากแนวคิดถนนมวลชน (Democratic street)&nbsp; ที่ให้ความสำคัญกับคนเดิน และขนส่งสาธารณะ และการเข้าถึงของกลุ่มคนที่หลากหลาย หรือแนวคิดแบ่งปันถนน (woonerf) การศึกษานี้ทำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครความเป็นเมืองหลวงที่มีความหนาแน่นของประชากรเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดปัญหาความเหลือมล้ำขึ้น การพัฒนาการของเมืองด้านการขนส่ง ที่สวนทางคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ความไม่ปลอดภัยในการใช้ทางสัญจรของคนที่เกิดจากการรับรู้ของคนที่ใช้ยานพาหนะที่มองข้ามบุคคลที่ใช้ทางสัญจรร่วมกัน จากการสำรวจข้อมูลสถิติพบว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้งานทางเท้า และทางข้ามทางม้าลายสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของกลุ่มประเทศอาเซียน</p> <p>ซึ่งทฤษฎีการรับรู้ทางงานสถาปัตยกรรมนั้นมีส่วนช่วยเหลือในการออกแบบเส้นทางหรือลักษณะบางอย่างที่ก่อให้เกิดกระตระหนักรับรู้ ความตื่นตัวเมืองเข้าเขตที่มีจุดร่วมกันกับผู้ใช้ทางสัญจรอื่นนั้นคือทางข้าม ที่เป็นจุดตัดกันระหว่างคนและยานพาหนะ ซึ่งสามารถนำทฤษฎีการออกแบบมาประยุกค์ได้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต</p> <p>นี่อาจเป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางในการออกแบบเพื่อแก้ไข หรือลดปัญหาความเหลือมล้ำด้านความปลอดภัยระหว่างคนกับยานพาหนะที่คนกรุงเทพกำลังพบเจอในปัจจุบัน</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>:</strong> ความเท่าเทียม,ทางข้าม,การรับรู้</p> วงศธร สุขัคคานนท์ Copyright (c) 2024 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/tamnakssru/article/view/4636 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700