จ้วง - ไทย ในมิติบ้านพักอาศัย : ความทรงจำร่วม จากประสบการณ์การเดินทางดูงาน วัฒนธรรมร่วม ไทย-จีน

Main Article Content

วีระพันธุ์ ชินวัตร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการรวบรวม และประมวล สรุปการวิเคราะห์ลักษณะรูปแบบและองค์ประกอบหลักของเรือนไตของชนชาติ ไต-ไท-ไทย จากการศึกษาของนักวิชาการไทยต่างๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 จนถึงปัจจุบัน ทั้งที่อยู่ในประเทศไทย และในเขตรอยต่อชายแดนรัฐฉานของพม่าต่อเนื่องไปถึงเมืองชายแดนเขตเตอหง ทางตะวันตก เขตมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน และข้อสังเกตของเรือนไต และเรือนจ้วง ของผู้เขียนจากประสบการณ์ดูงานวัฒนธรรมร่วมไทย-จีนที่ผ่านมา โดยแบ่งบทบทความออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ : ตอนที่ 1 เรือนไต–ไท–ไทย ที่มีในประเทศไทยและจีน รวมถึงการสรุปองค์ประกอบหลักของเรือนไต โดยเฉพาะเรือนไตที่อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ; ตอนที่ 2 เรือนจ้วง จากประสบการณ์การเดินทางดิงานวัฒนธรรมร่วมไทย-จีน ในเขตมณฑลยูนนาน และกวางสี และ ตอนที่ 3 ข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบเรือนไต กับ เรือนจ้วง ผ่านทางร่องรอยที่สื่อถึง “ความทรงจำร่วม” ในอดีตที่ปรากฏอยู่ใน “ที่พักอาศัยพื้นถิ่น” ชนชาติจ้วง–ไทย


          ข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบระหว่างเรือนจ้วง และเรือนไต ที่ผ่านร่องรอย “ความทรงจำร่วม” ในเรื่องของ ภาษาที่ใช้เรียกองค์ประกอบของเรือน รูปทรงอาคารและองค์ประกอบของอาคาร และประโยชน์ใช้สอยกับประเพณีที่เกี่ยวข้องมีนัยบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติชนชาติของ จ้วง-ไทย ผ่านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่น่าจะเป็นการจุดประกายให้นักวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งไทยและจีน ควรจะได้ร่วมกันศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดในเชิงบูรณาการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาและความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศสืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จูเหลียงเหวิน .“ชนชาติไต สถาปัตยกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีไต ในสิบสองพันนา”, สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์ , เชียงใหม่ : 2536.

เจีย แยนจอง.“คนไทไม่ใช่คนไทย แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา” , สำนักพิมพ์มติชน , กรุงเทพฯ : 2548.

ถาวร สิกขโกศล.“ภาษาจีน : เส้นทางสร้างชาติและวัฒนธรรม” ศิลปวัฒนธรรม 27,4 (กุมภาพันธ์ 2549) : 81-107.

มหาวิทยาลัยศิลปากร.“โครงการรักษาเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว”, _______________, กรุงเทพฯ : 2542.

วิวัฒน์ เตมียพันธ์.“ เรือนพักอาศัยรูปแบบสำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” อาษา วารสารสถาปัตยกรรม (มกราคม 2541) : 55-57.

สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา.“น้ำ บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย”, สมาคมสถาปนิกสยามฯ , กรุงเทพฯ : 2539.

Sophie Charpentier, Pierre Clément.“ Elements Comparatifs Sur Les Habitations Des Ethies De Langues Thai”, Final Report , Institut De L’Environnement ,Paris : 1979.