กลุ่มดาวฤกษ์ และเวลา ในจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถ วัดราชนัดดาราม

Main Article Content

พิพัฒน์ ศักดิ์ศิริเกษมกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังภาพเทพชุมนุม วัดราชนัดดารามวรวิหาร มีจุดประสงค์ในการศึกษาเรื่องราวที่บันทึกไว้ในจิตรกรรมฝาผนัง และศึกษารูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากยุคสมัยของจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพื่อเป็นการทำความเข้าใจถึงแนวความคิดที่เปลี่ยนแปลงในจิตรกรรมฝาผนังแบบสัจนิยม พร้อมทั้งการใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ ในจิตรกรรมฝาผนัง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ ด้วยการถ่ายภาพ รังวัดพื้นที่ภายใน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยอ้างอิงการทบทวนวรรณกรรม และแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง


  จากการศึกษา พบว่าจิตรกรรมฝาผนังวัดราชนัดดาราม มีแนวความคิดของการรับรู้เวลา ฤดูกาล ในแบบจันทรคติ ที่เริ่มต้นนับปีในเดือนเมษายนหรือ ราศีเมษ จากการแบ่งราศีบนผนังฝั่งตะวันออกและ ตะวันตก และการศึกษาภาพการเรียงตัวของเทวดาในจิตรกรรมฝาผนังมีลักษณะสอดคล้องอย่างชัดเจนกับการเรียงตัวของกลุ่มดาวในตำราพิไชยสงครามถึง 8 กลุ่ม ได้แก่ อัศวณี ภรณี โรหิณี มฆา บุพพลคุณี จิต เชฐ มูละ มีการเรียงตัวที่คล้ายคลึง ได้แก่ พฤคเศียร ปูนัพสุ ธนิษฐา แต่ยังไม่พบความสัมพันธ์ในด้านของการเรียงตัว กับกลุ่มดาวจริงบนฟ้า แต่กลับเห็นการให้ความสำคัญกับดาวหลักที่มีแสงสุกสว่างในกลุ่มดาว ที่เทียบเคียงกับดาวบนท้องฟ้าได้ ได้แก่ ดาวอัลเดบาเรนกับโรหิณี ดาวบีเทลจุสกับอารทรา และรูปแบบเนื้อหาของจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งกำเนิดขึ้นในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4 ที่การเขียนภาพตามคติสัจนิยม ภูมิปัญญาทางดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ ผนวกเข้ากับความเชื่อเรื่องจักราศี ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และการแสดงออกของมิติที่ไร้ขอบเขต ยังเป็นมิติที่สร้างแนวความคิดการสร้างที่ว่างภายในอุโบสถด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่สลายการปิดล้อมของอาคาร อย่างไรก็ตามการศึกษายังขาดข้อมูลเชิงลึกในด้านความสัมพันธ์ของดวงดาวในตำราพิไชยสงครามกับกลุ่มดาวจริง เพื่อตีความและขยายข้อมูลที่ได้จากการเปรียบเทียบกับกลุ่มดาวจากจิตรกรรมฝาผนัง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, (2560). เทวดานพเคราะห์, กรุงเทพฯ: เฮงศักดิ์มั่นคง,.

กรมศิลปากร กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. (2538). โลหะปราสาท วัดราชนัดดา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง)

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2558). การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1. กรุงเทพฯ: มติชน ทัพพ์ทิวัตถ์ แสงดี, ดาราศาสตร์กับงานศิลปกรรมและคติความเชื่อในดินแดนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า95-106

น. ณ ปากน้ำ. (2560). วิวัฒนาการลายไทย. นนทบุรี: เมืองโบราณ

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. ความเข้าใจในจิตรกรรมไทยประเพณี (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556)

พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. (2560). วัด-วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ. กรุงเทพฯ: มติชน

ฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและประติมากรรมติดที่ กองโบราณคดี กรมศิลปากร. (2535). จิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดสระเกศราชวรวิหาร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร

ฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและประติมากรรมติดที่ กองโบราณคดี กรมศิลปากร. (2533). จิตรกรรมฝาผนังในกรุงเทพมหานคร โดย สมศักดิ์ แตงพันธ์ และวีระชัย วีระสุขสวัสดิ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร

พระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ). (2562) เทวกำเนิด ภารตเทพปกรณัมอันอมตะ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา

ภาณุพงษ์ เลาหสม และชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์ม (2549), เปลี่ยนพื้น แปลงภาพ ปรับรูป ปรุงลาย: การวิเคราะห์วิธีการออกแบบและวาดจิตรกรรมฝาผนังยุคต้นรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ)

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2530) หน้า 232-233.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2463). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์:พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. นนทบุรี: เมืองโบราณ

สันติ เล็กสุขุม. (2548). จิตรกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 3:ความคิดเปลี่ยน การแสดงออกก็เปลี่ยนตาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ

สันติ เล็กสุขุม, ลีลาไทย : เพื่อความเข้าใจความคิดเห็นช่างโบราณ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2546),177-178

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, พระปฐมสมโพธิกถา (กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2503), หน้า 1