การพัฒนาแชทบอทเพื่อบริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธนากร อุยพานิชย์ แขนงวิชาการจัดการดิจิทัลคอนเทนท์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัลและคอนเทนท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กอบแก้ว มีเพียร แขนงวิชาการจัดการดิจิทัลคอนเทนท์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัลและคอนเทนท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แชทบอท, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, ไลน์แอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแชทบอทเพื่อบริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยนำวงจรพัฒนาระบบสารสนเทศ SDLC (System Development Life Cycle) ตามแบบจำลองพัฒนาซอฟต์แวร์แบบน้ำตก (Waterfall Model) เข้ามาใช้ในการพัฒนาแชทบอท โดยแชทบอทจะให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและคำถามเกี่ยวกับการบริการของงานกองทุนฯ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการตอบคำถาม แจ้งนัดหมายเข้าประชุม แจ้งนัดหมายในการยื่นเอกสาร แจ้งการจัดกิจกรรมจิตอาสา รวมไปถึงการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่ใช้บริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 350 คน สถิติในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานแชทบอทในทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประสิทธิภาพของแชทบอทอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.56) รองลงมา ด้านความสามารถของแชทบอทอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.51) ด้านความง่ายในการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.49) และ ด้านความถูกต้องของแชทบอทอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.48) ตามลำดับ

References

เจนนิสา ยศอินทร์ และวีรอร อุดมพันธ์. (2565). การพัฒนาระบบแชทบอทเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรแบบอัตโนมัติ กรณีศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 7(1), 74-84.

ณภัทร ไชยพราหมณ์, ณัฐวุฒิ ทุมนัต และชูพันธุ์ รัตนโภคา. (2563). ระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาผ่านไลน์บอท. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 10(2), 59-70.

วสุ บัวแก้ว และปณิธิ เนตินันทน์. (2563). การพัฒนาระบบ Line bot สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย. ใน การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563 (หน้า 2406-2413). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต, บัณฑิตวิทยาลัย.

สหรัฐ ทองยัง, ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล และอนุ เจริญวงศ์ระยับ. (2565). การพัฒนาแชทบอทเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(1), 96-108.

สุนทรีย์ พีระพาณิชย์ และธนพรรณ กุลจันทร์. (2564). การพัฒนาบริการและช่องทางประชาสัมพันธ์โดยใช้ไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานต์ (Line official account) สำหรับห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. อินฟอร์เมชั่น, 28(2), 87-102.

สุมนา บุษบก, ณัฐพร เพ็ชรพงษ์ และจีรนุช สิงห์โตแก้ว. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษา กรณีศึกษากองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 19(2), 85-94.

Dennis, A., Wixom, B. H., & Roth, R. M., (2012). Systems analysis and design. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Uiphanit, T., Bhattarakosol, P., Suanpong, K. & Iamsupasit, S. (2019). Packet warriors: An academic mobile action game for promoting OSI model concepts to learners. International Journal of Interactive Mobile Technologies, 13(6), 41-51. doi:10.3991/ijim.v13i06.10469

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28