การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์ หลักสูตรสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วัชราวุฒิ สีหล้า หลักสูตรสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ภาษิต เมืองแก้ว หลักสูตรสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, การเรียนการสอน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) ศึกษาปัญหาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.20 และเพศชาย ร้อยละ 32.80 มีความถี่ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนการสอนมากที่สุด คือ ทุกวัน ร้อยละ 46.30 สื่อสังคมออนไลน์ที่อาจารย์ใช้เพื่อการเรียนการสอนมากที่สุดคือ เฟซบุ๊ก ร้อยละ 85.07 และ ยูทูป ร้อยละ 65.67 แพลตฟอร์มที่อาจารย์ใช้เพื่อการเรียนการสอนมากที่สุดคือ ไมโครซอฟท์ทีม ร้อยละ 88.06 และ ซูม ร้อยละ 56.72 อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้การสอนออนไลน์แบบสอนสด ร้อยละ 83.60 รองลงมาคือ สอนแบบผสมทั้งแบบสอนสดและบันทึกวิดีโอไว้ล่วงหน้า ร้อยละ 16.40 พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.24) โดยด้านการวางแผนอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.42) ด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.26) ส่วนด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.04) ปัญหาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนการสอนพบว่า ในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.64) โดยปัญหาที่พบ คือ นักศึกษาไม่มีอุปกรณ์พร้อมในการเรียนและสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร

References

ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 357-365.

พิเชษฐ์ แซ่โซว, ชูศักดิ์ ยืนนาน และนัฐิยา เพียรสูงเนิน. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในการศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 26(2), 189-202.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2564). คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://www.human.cmru.ac.th/teacher

รัชดากร พลภักดี. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(1), 1-5.

วิไลวรรณ ไตรยราช, วิชญวัชญ์ เชาวนีรนาท และจำนง วงษ์ชาชม. (2561). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(68), 147-157.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, สำนักงานประชาสัมพันธ์. (2562). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-213.

สุมาลี เชื้อชัย. (2561). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนแบบผสมผสาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 214-221.

อรรถพล ทองวิทยาพรม, จำนง วงษ์ชาชม และสุทิศา ซองเหล็กนอก. (2561). การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 81-89.

อัมพิกา คณานุรักษ์, ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ และวาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2560). ระบบการเรียนการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 2173-2192.

Beemt, A. V. D., Thurlings, M., & Willems, M. (2019). Towards an understanding of social media use in the classroom: a literature review. Technology, Pedagogy and Education, 29(1), 35-55. doi:10.1080/1475939X.2019.1695657

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. doi: 10.1177/001316447003000308

Otchie, W. O., & Pedaste, M. (2020). Using social media for learning in high schools: A systematic literature review. European Journal of Educational Research, 9(2), 889-903. doi:10.12973/eu-jer.9.2.889

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28