การพัฒนาเว็บไซต์การจัดการข้อมูลปฐมภูมิสำหรับการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • ณัฐพัชญ์ ศรีราจันทร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • รุ่งนภา รัตนถาวร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนาเว็บไซต์, การจัดการข้อมูล, การดูแลและช่วยเหลือนักเรียน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์การจัดการข้อมูลปฐมภูมิสำหรับการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึก จัดเก็บข้อมูล และสรุปผลรายงานข้อมูล 2) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพเว็บไซต์การจัดการข้อมูลปฐมภูมิสำหรับการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจเว็บไซต์การจัดการข้อมูลปฐมภูมิสำหรับการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดการพัฒนาระบบด้วยวงจรการพัฒนาระบบ SDLC ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์คือ C# ASP.NET และใช้ PostgreSQL จัดการฐานข้อมูลของระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพเว็บไซต์ และ 2) ผู้ทดสอบการใช้งาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 30 ท่าน เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการประเมินคือ เว็บไซต์ที่พัฒนา แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นได้พัฒนาตามความต้องการเบื้องต้นด้วยการออกแบบฟังก์ชันงานที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง การประเมินคุณภาพเว็บไซต์ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.32 อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน

References

ทิพวัลย์ แสนคำ, สมศักดิ์ จีวัฒนา และนลินทิพย์ พิมพ์กลัด. (2560). การพัฒนาเว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 142-150.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญธิดา ชุนงาม. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์ระบบคลังข้อสอบและวิเคราะห์ข้อสอบวิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 18(1), 48-58.

ปนัดดา รูปงาม, ฐิติชัย รักบำรุง และนคร ละลอกน้ำ. (2563). การพัฒนาเว็บไซต์งานบริการด้านเทคโนโลยีการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(2), 79-86.

ฟ้า วิไลขำ, สมชาย วรัญญานุไกร และพวา พันธุ์เมฆา. (2556). การพัฒนาเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลกแบบมีส่วนร่วม. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 6(2), 104-117.

รัตน์ธศักดิ์ เพ็งชะตา. (2561). คุณลักษณะของเว็บไซต์ที่ผู้ประกอบการโอทอปจังหวัดพะเยาต้องการ โดยใช้กรอบ งานการสกัดความต้องการแบบผู้ใช้มีส่วนร่วม. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(2), 1-14.

โรงเรียนอำนาจเจริญ. (ม.ป.ป.). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. สืบค้นจาก http://rule.anc.ac.th/from3

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, มหาวิทยาลัยนเรศวร และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (ม.ป.ป.). คู่มือการบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านนักเรียนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. สืบค้นจาก https://www.spmnonthaburi.go.th/main/sites/default/files/app%20cct-care.pdf

อรรถสิทธิ์ คำภูดี, ธรัช อารีราษฎร์ และอภิชาติ เหล็กดี. (2562). การพัฒนาเว็บไซต์การบริหารจัดการกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 1-12.

อัษฎา วรรณกายนต์, ชาติชาย จรัญศิริไพศาล, อภิชัย ไพรสินธุ์, ลลิลทิพย์ รุ่งเรือง และแดงน้อย ปูสาเดช. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(9), 77-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28