ขนมผูกรักสร้างอาชีพสำหรับผู้พิการ

ผู้แต่ง

  • ปิยวรรณ ขาวพุ่ม สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • กูนุสซาร่า กูดาอี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • เพราพรรณ ปุสสะ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ผู้พิการ, บริการห้องสมุด, ขนมผูกรัก

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวัตถุดิบ อุปกรณ์และกระบวนการสอนในการทำขนมผูกรักสร้างอาชีพสำหรับผู้พิการ และเพื่อให้สามารถต่อยอดประกอบอาชีพได้ในอนาคต (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำขนมผูกรักสร้างอาชีพสำหรับผู้พิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้พิการ จำนวน 20 คน จากสมาคมผู้พิการ จังหวัดภูเก็ต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจ ขนมผูกรักสร้างอาชีพสำหรับผู้พิการ แบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามระดับความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ และตอนที่ 2 ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า ผู้พิการมีระดับความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงลำดับแรก คือ ศึกษาวัตถุดิบ อุปกรณ์และกระบวนการสอนในการทำขนมผูกรักสร้างอาชีพสำหรับผู้พิการ รองลงมาคือ เพื่อให้ผู้พิการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถต่อยอดได้ในอนาคต และการจัดนิทรรศการสื่อที่เกี่ยวข้อง เป็นลำดับสุดท้าย

References

กินทั่วทิศ. (2559, 9 กันยายน). ผูกด้วยใจให้ด้วยรักกับ “ขนมผูกรัก” ของฝากขึ้นชื่อเมืองสตูล. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก https://mgronline.com/travel/detail/9590000090687

จันทนา กูรีกัน. (2560, 21 กุมภาพันธ์). สกู๊ปพิเศษ / “ขนมผูกรัก” ของฝากขึ้นชื่อเมืองสตูล สร้างรายได้สู่ชุมชนรับออเดอร์ไทย-มาเลเซียเพียบ. สยามรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/9965

เจนจิรา เจนจิตรวาณิช และเจด็จ คชฤทธิ์. (2562). การสร้างแรงจูงใจในการจัดการความรู้ของคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ประกอบอาชีพอิสระ: ข้อสังเกตบางประการจากข้อมูลการวิจัยภาคสนาม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(2), 27-51.

ชวาลา ละวาทิน และทิพย์สุคนธ์ ไตรต้นวงศ์. (2558). อาหารและขนมไทยพื้นบ้านโบราณ หมู่บ้านคลองขนมหวาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 142–155.

นันทิรา มิลินทานุช. (2551). การศึกษาวิถีธรรมชาติบำบัดเพื่อการออกแบบสถานบำบัดและฟื้นฟูสำหรับคนวัยทำงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิจักษณ์ ภู่ตระกูล. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตคนพิการที่เกิดขึ้นจากการจ้างงานในชุมชนและการส่งเสริมอาชีพ. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 35(3), 198-215.

สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ, วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน และอนุชา แพ่งเกษร. (2559). การออกแบบสื่อนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตาในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 12(2), 274–294.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคม. สืบค้นจาก https://sp.moe.go.th/sp_2563/info/?module=table4_31&eduyear=2563&edu_round=2&reo=all

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2553). ทฤษฎีทางการทดสอบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อานนท์ ฉัตรทอง. (2558). สร้างโอกาสและความหวังเสริมพลังคนพิการ. สืบค้นจาก http://www.prdmh.com/สาระสุขภาพจิต/สาระน่ารู้สุขภาพจิต/297-สร้างโอกาสและความหวังเสริมพลังคนพิการ.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28