การพัฒนาระบบชั้นวางของอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพัชญ์ ศรีราจันทร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ภาณุพงศ์ แสงสว่าง สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, เทคนิคการตรวจจับระยะ, การจัดการสินค้า

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ได้ออกแบบและพัฒนาระบบชั้นวางของอัจฉริยะ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพการจัดการสินค้าให้กับร้านค้า โดยการนำเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมาช่วยตรวจสอบสินค้าบนชั้นวางสินค้าแทนที่มนุษย์ ทำให้ระบบสามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าที่มีอยู่บนชั้นวางได้โดยอัตโนมัติ งานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบเครื่องมือและการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยทำการทดสอบการตรวจจับระยะห่างด้วยเซนเซอร์ อัลตร้าโซนิคกับสินค้าแต่ละชิ้นบนชั้นวาง ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบผ่านทางแอปพลิเคชัน ได้แก่ ขนาดของชั้นวาง ขนาดของสินค้าแต่ละชนิด ระบบจะทำการคำนวณจำนวนสินค้าที่สามารถวางบนชั้นวาง และจำนวนสินค้าคงเหลือบนชั้นวางจะถูกตรวจสอบตามค่าระยะทางที่คำนวณได้จากค่าระยะที่เซนเซอร์ตรวจพบ ดังนั้นผู้ใช้สามารถตรวจสอบสินค้าคงเหลือบนชั้นวางด้วยแอปพลิเคชันที่พัฒนา และในกรณีที่สินค้าหมดระบบจะสามารถทำการแจ้งข้อความไปยังผู้ใช้งาน การวิจัยได้ทำการทดสอบจากการตรวจสอบความแม่นยำในการตรวจจับระยะห่างของเซนเซอร์ด้วยสินค้า 3 ประเภท ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของสินค้าทั้ง 3 ประเภท เท่ากับ 0.2 นั่นหมายความว่าเซนเซอร์สามารถตรวจสอบระยะทางได้อย่างแม่นยำเมื่อเทียบกับระยะทางจริง นอกจากนี้การทำงานของแอปพลิเคชันสามารถเชื่อมต่อค่ากับเซนเซอร์และเครื่องมือของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้เป็นอย่างดี ค่าระยะห่างที่ได้รับจากการตรวจจับของเซนเซอร์สามารถแสดงผลลัพธ์บนแอปพลิเคชันได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

References

ขวัญชนก ศรีมูล, ฐาปนี ฉายากุล, เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์, พนิตา พงษ์ไพบูลย์ และสุขุมาล กิติสิน. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบ NETPIE กับแพลตฟอร์ม Internet of things อื่น. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 13 (หน้า 680-685). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จักรพงษ์ มณีศรี. (2560). ตู้รับจดหมายแจ้งเตือนผ่าน Line notify. เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์, 9(443), 48-53.

วิลาวัณย์ บุตรศรี. (2557). เครื่องวัดส่วนสูงแบบดิจิทัล. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สันติพงค์ แสงฮวด, พยุง มีสัตย์ และสุนันทา สดสี. (2560). การทบทวนการเข้ารหัสเพื่อระบุตัวตนด้วยอาร์เอฟไอดีสำหรับอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(1), 45-55.

สุวิทย์ ภูมิฤทธิกุล และปานวิทย์ ธุวะนุติ. (2559). Internet of thing เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้โปรแกรม Hadoop. วารสารวิชาการปทุมวัน, 6(15), 61-72.

เอกลักษณ์ สุมนพันธุ์ และธานินทร์ สุเชียง. (2558). แอปพลิเคชันแอนดรอยด์สำหรับควบคุมระบบไฟฟ้าและอุณหภูมิในโรงเรือนเลี้ยงหนอนไหม. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5 (หน้า 686-695). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Allende, A. S. (2017). Eco-thing #1 “eco-smart-container V1.0.” Retrieved from https://create.arduino.cc/projecthub/alexis-santiago-allende/eco-thing-1-eco-smart-container-v1-0-220439

Pignotti, E., & Edwards, P. (2013). Trusted tiny things: Making the internet of things more transparent to users. Proceedings of the International Workshop on Adaptive Security, USA, 2, 1-4. doi:10.1145/2523501.2523503

Smeets, J., & Luyten, P. (2017). Traffic light information system. Retrieved from https://create.arduino.cc/projecthub/38611/traffic-light-information-system-3f0e9e?ref=search&ref_id=Pieter%20Luyten%20&offset=0

Yeole, A. S., & Kalbande, D. R. (2016). Use of internet of things (IoT) in healthcare: A survey. In D. K. Miahra, R. Sheikh, & S. Jain (Eds.), Proceedings of the ACM Symposium on Women in Research (pp. 71-76). New York, NY: Association for Computing Machinery. doi: 10.1145/2909067

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28