การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ห้องสมุดต่อการยืมคืนอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้แต่ง

  • ชลวิทย์ จิตมาน สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บริการยืม-คืนอัตโนมัติ, เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี, พฤติกรรมผู้ใช้ห้องสมุด

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและการยอมรับเทคโนโลยีของนักศึกษาต่อการใช้งานบริการตู้ยืม-คืนอัตโนมัติ ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในการใช้งานบริการตู้ยืม-คืนอัตโนมัติ ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เป็นสมาชิกของ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ใช้บริการตู้ยืม-คืนอัตโนมัติ จำนวน 1,036 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีการเข้าใช้บริการมากที่สุด จำนวนนักศึกษาที่ใช้บริการมากที่สุดคือคณะนิติศาสตร์ ร้อยละ 41.06 รองลงมาคือ คณะรัฐศาสตร์ ร้อยละ 21.54 คณะบริหารธุรกิจ ร้อยละ 11.38 นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้บริการตู้ยืม-คืนอัตโนมัติ ในช่วงเวลา 12.00-16.30 น. โดยนักศึกษามีความถี่ในการเข้าใช้บริการยืม-คืนตำราเรียนมากที่สุด ร้อยละ 58.54 จากการศึกษา พบว่า ผู้ใช้ยอมรับเทคโนโลยีการยืม-คืนอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีโดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.78 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริการตู้ยืม-คืนอัตโนมัติส่งผลให้มีความน่าสนใจและเกิดความทันสมัย มีค่าเฉลี่ย 4.34 และเทคโนโลยีการบริการตู้ยืม-คืนอัตโนมัติ สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดการให้บริการและทำให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการได้ ค่าเฉลี่ย 4.26 ตามลำดับ

References

เดชสฤษดิ์ จาติเกตุ. (2552). การใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สำหรับการบริการยืมด้วยตนเอง ของหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทรงศิริ หงษ์บิน. (2544). รูปแบบการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลที่เหมาะสมของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พชรพันธุ์ สำเภาเงิน. (2552). การยอมรับเทคโนโลยี RFID ของลูกค้าธนาคารออมสิน. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พุฒิพงศ์ ยองทอง. (2550). การพัฒนาระบบอาร์เอฟไอดีสำหรับห้องสมุดอัตโนมัติแบบเปิดเผยรหัส. การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภักดี รัตนมุขย์. (2561). Thailand 4.0 ตอบโจทย์ประเทศไทย? กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. doi:10.1177/001316447003000308

Narayanan, A., Singh, S., & Somasekharan, M. (2005). Implementing RFID in library: Methodologies, advantages and disadvantages. Proceedings of the Conference on Recent Advances in Information Technology, India, 271-281. Retrieved from https://scholar.google.co.th/scholar?hl=th&as_sdt=0%2C5&as_vis=1&q=Narayanan%2C+Singh%2C+Somasekharan+2005+&btnG=

Yu, S. C. (2008). Implementation of an innovative RFID application in libraries. Library Hi Tech, 26, 398-410. doi:10.1108/07378830810903328

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28