พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • กัณฑ์จรี แสวงการ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ปราณี จุลภักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ใหม่ บัวบาล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, พฤติกรรม, การดำเนินชีวิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และ 3) ศึกษาระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา เป็นวิจัยแบบผสานวิธี มีเครื่องมือและวิธีวิเคราะห์โดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ และการสนทนากลุ่มย่อย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา จำนวน 390 คน ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test One-Way ANOVA และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษาที่มีเพศต่างกันและมีภูมิลำเนาต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ครอบคลุม 4 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน (2) ด้านการเรียนการสอน (3) ด้านการบริหารจัดการ และ (4) ด้านวัฒนธรรมแห่งความพอเพียงหรือวิถีชีวิตแห่งความพอเพียง และ 3) นักศึกษามีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ (1) ด้านความพอประมาณ (2) ด้านความมีเหตุผล (3) ด้านการมีภูมิคุ้มกัน (4) ด้านการมีความรู้ และ (5) ด้านการมีคุณธรรม

References

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เกษม วัฒนชัย. (2551). เส้นทางสู่ความพอเพียง. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

พิกุล ภูมิโคกรักษ์. (2561). รายงานการวิจัยพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (2562). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. สืบค้นจาก https://www.nstru.ac.th/th/view/detail/5

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2562). รายงานสรุปจำนวนนักศึกษาแรกเข้า คงเหลือ ปีการศึกษา 2561. สืบค้นจาก http://www.regis.nstru.ac.th/regis_ web2016/idx_download_struc.php

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2554). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

รุ่งกานต์ ยอดคง. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ตามเงื่อนไขคุณธรรมพื้นฐาน. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วารี คลังศิริ. (2558). การรับรู้เพื่อพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ศราวณี พึ่งผู้นำ. (2560). การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 7(2), 1-15.

สมพร เทพสิทธา. (2550). การเดินทางตามรอยพระยุคลบาท เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต. กรุงเทพฯ: กองทุนอริยมรรค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28