ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจในการทํางาน, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, บุคลากรห้องสมุดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยจําแนกตามตัวแปรประเภทบุคลากร สถานภาพทางราชการ วุฒิการศึกษา ประเภทของงาน และประสบการณ์ในการทำงาน รวมทั้งศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางที่จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา ตลอดจนศึกษาอันดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยใช้ทฤษฎีของเฮอร์ซเบอร์กในการกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย และใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ตเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา จำนวน 58 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistical Package for the Social Sciences/Personal Computer Plus) ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยมีความพึงพอใจสูงสุดในด้านความสำเร็จ และมีความพึงพอใจต่ำสุดในด้านนโยบายและการบริหาร เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรประเภทบุคลากร สถานภาพทางราชการ วุฒิการศึกษา ประเภทของงาน และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าบุคลากรสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร และมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานต่อปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง 10 ปัจจัยเรียงตามอันดับความสำคัญ ดังนี้ 1) ความสำเร็จ 2) ความรับผิดชอบ 3) ลักษณะงาน 4) ความก้าวหน้า 5) การบังคับบัญชา 6) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 7) การได้รับความยอมรับนับถือ 8) สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 9) สิ่งตอบแทน และ 10) นโยบายและการบริหาร
References
ชัยทวี เสนะวงศ์. (2557). Workplace of your dream สถานที่ทำงานในฝัน. วารสารการบริหารฅน, 35(3), 22-28.
นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2552). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. จันทบุรี: โครงการพัฒนาตำรามหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
บรรยงค์ โตจินดา. (2543). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
เบญจภรณ์ อนันต์วณิชย์ชา, สมศิลป์ ศรีประภัสสร, นันทมาลิน ณ นคร, วิไล พฤษปัญจะ และสยุมพร ไชยชมภู. (2552). ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, สำนักหอสมุด.
ปวรรัตน เลิศสุวรรณเสรี. (2552). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
พยอม วงศ์สารศรี. (2542). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุภา.
รัชฎา อสิสนธิสกุล และอ้อยอุมา รุ่งเรือง. (2548). การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) เพื่อการประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รัชนีกรณ์ อินเล็ก. (2558). การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย. PULINET Journal, 2(1), 16-25. สืบค้นจาก https://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/article/viewFile /63/68
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2556). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547. สืบค้นจาก http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/uploads/File/RegEmp47%28129.pdf
อนุสรณ์ ทองสำราญ. (2541). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ: ศึกษากรณีสำนักงานใหญ่ธนาคารอาคารสงเคราะห์. ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: Wiley.