การพัฒนาแพลตฟอร์มสารสนเทศสำหรับบริหารจัดการสนามกอล์ฟและแคดดี้
คำสำคัญ:
การพัฒนาแพลตฟอร์มสารสนเทศ, ธุรกิจสนามกอล์ฟและแคดดี้, การประเมินการยอมรับเทคโนโลยีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสารสนเทศบนเว็บแอปพลิเคชันเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการสนามกอล์ฟและแคดดี้ที่พบเจอในปัจจุบัน เช่น ปัญหาการติดต่อประสานงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ การจัดการข้อมูลที่ไม่เป็นระบบ และปัญหาการกระจายงานที่ไม่ทั่วถึง โดยแพลตฟอร์มสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย เฟรมเวิร์คจังโก้ (Django) เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาระบบด้วยภาษาไพธอน (Python) ใช้โปรแกรมพีเอชพีมายแอดมิน (phpMyAdmin) ในการติดต่อฐานข้อมูล ใช้เฟรมเวิร์ควิวเจเอส (Vue.js) และ วิวทิไฟ (Vuetify) ที่ช่วยพัฒนาภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) และ ภาษาซีเอสเอส (CSS) ที่ช่วยในการตกแต่งหน้าจอโปรแกรม ซึ่งสามารถจัดการข้อมูลสนามกอล์ฟ ข้อมูลแคดดี้ การจองสนามกอล์ฟ และการสื่อสารระหว่างสนามกอล์ฟและนักกอล์ฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีด้วยแบบจำลอง TAM (Technology Acceptance Model) จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานและแคดดี้ของธุรกิจสนามกอล์ฟ จำนวน 30 คน พบว่าผู้ใช้งานมีการยอมรับเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก ( = 4.13, S.D. = 0.91) ซึ่งบ่งชี้ว่าระบบมีความใช้งานง่าย มีประโยชน์ และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานจริง ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าที่พบว่าการรับรู้ถึงประโยชน์และความง่ายในการใช้งานของเทคโนโลยีมีผลเชิงบวกต่อทัศนคติและความตั้งใจในการใช้งาน นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังนำเสนอแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มสารสนเทศที่บูรณาการการจัดการข้อมูลสนามกอล์ฟ การจัดการแคดดี้ และการสื่อสารระหว่างสนามกอล์ฟและนักกอล์ฟเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังมีความน่าสนใจในการศึกษาต่อยอดต่อไป เช่น การพัฒนาฟังก์ชันการทำงานเพิ่มเติม การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ และการศึกษาผลกระทบของแพลตฟอร์มต่อประสิทธิภาพทางธุรกิจของสนามกอล์ฟในระยะยาว
References
ธุรกิจกอล์ฟในไทย จุดสนใจนักลงทุนไทย-เทศ. (2556, 16 มิถุนายน). Thai PBS. https://www.thaipbs.or.th/news/content/177290
ปภัสสร รอดอยู่. (2562). นวัตกรรมการบริการของผู้ประกอบการธุรกิจสนามกอล์ฟ กรณีศึกษานิกันติ กอล์ฟ คลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมาคมกีฬากอล์ฟแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). กอล์ฟสยาม. TGA. http://www.tga.or.th/tga2024/about/
หทัยรัตน์ เสนาะพล. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคชาวไทย. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 1(2), 43-57.
อนุรักษ์ จักรวรรดิ์, วิโรจน์ ทองจืด และอมฤตา ฤทธิภักดี. (2565). การพัฒนาระบบบริหารจัดการซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์: กรณีศึกษาหน่วยงานกองสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 3(2), 67-80.
Callum, M. (2018). Vue.js: Up and running. O'Reilly Media.
Chuttur, M. Y. (2009). Overview of the technology acceptance model: Origins, developments and future directions. Sprouts: Working Papers on Information Systems, 9(37), 9-37.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. n.p.
Vincent, W. S. (2021). Django for beginners. https://djangoforbeginners.com/