การพัฒนากล่องจ่ายยาอัตโนมัติ
คำสำคัญ:
กล่องยาอัตโนมัติ, การดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ออกแบบและพัฒนากล่องจ่ายยาอัตโนมัติ (2) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของกล่องจ่ายยาอัตโนมัติ และ (3) ประเมินความพึงพอใจการใช้งานกล่องจ่ายยาอัตโนมัติ การทำงานประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กล่องสำหรับใส่ยาที่สามารถแจ้งเตือนด้วยสัญญาณเสียงพร้อมแสดงสถานะเตือนด้วยหลอดแอลอีดี แสดงเตือนบนหน้าจอ และส่งข้อความแจ้งเตือนบนสมาร์ตโฟนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ การทดสอบประสิทธิภาพของกล่องจ่ายอัตโนมัติ พบว่า การส่งเสียงแจ้งเตือนพร้อมแสดงสถานะเตือนผ่านหลอดแอลอีดี มีค่าความถูกต้องร้อยละ 97.61 ค่าความแม่นยำร้อยละ 100 และทำงานแจ้งเตือนได้ร้อยละ 95.23 การแสดงผลบนหน้าจอแอลซีดีมีค่าความถูกต้อง ความแม่นยำ และทำงานแจ้งเตือนได้ร้อยละ 97.61 การแจ้งเตือนบนสมาร์ตโฟนมีค่าความถูกต้องร้อยละ 95.23 ค่าความแม่นยำร้อยละ 97.50 และทำงานแจ้งเตือนได้ร้อยละ 92.85 ความพึงพอใจจากผู้ใช้งานจำนวน 10 ราย อายุระหว่าง 62-78 ปี พบว่า มีความพึงพอใจต่อการใช้งานกล่องจ่ายยาอัตโนมัติในภาพรวม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับมาก โดยด้านระบบเตือนทานยาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ มีค่าเฉลี่ย 4.60 อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านรูปแบบของกล่องจ่ายยาอัตโนมัติ มีค่าเฉลี่ย 4.20 อยู่ในระดับมาก
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. อมรินทร์คอร์เปอเรชั่นส์.
จักรพงษ์ รัตนโยธิน และวชิรศักดิ์ วานิชชา. (2560). การออกแบบและพัฒนาแอนดรอยด์แอปพลิเคชันการแจ้งเตือนรับประทานยาเพื่อเพิ่มคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการปทุมวัน, 7(20), 29-44.
จารุวรรณ ขำเพชร. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เมืองของไทยและต่างประเทศ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 15-26.
พุทธชาติ ฉันทภัทรางกูร. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. เภสัชกรรมคลินิก, 29(1), 13-24.
สุภาภรณ์ สุวรรณโรจน์, จีรวรรณ ชาประดิษฐ์, ชุมศรี ต้นเกตุ, ปัณณทัต บนขุนทด, ณรงค์กร ชัยวงศ์ และรังสันต์ ไชยคำ. (2565). พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งเสมียนตรา ตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 37(3), 649-658.
Al-Mahmud, O., Khan, K., Roy, R., & Alamgir, F. M. (2020). Internet of things (IoT) based smart health care medical box for elderly people. In International Conference for Emerging Technology (INCET) (pp. 1-6). IEEE Xplore. https://doi.org/10.1109/INCET49848.2020.9153994
Islam, T., Hassan, R., Romy, S. R., Dellal, D., & Bin, T. R. A. (2023). Enhancing medication adherence with IoT technology. European Journal of Electrical Engineering and Computer Science, 7(5), 7-13. https://doi.org/10.24018/ejece.2023.7.5.557
Karan, G., Vaishnavi, G., Suhani, G., Hritik, D., & Hiranawle, S. B. (2022). Design and implementation of medicine reminder box and health checker. International Journal for Research in Applied Science & Engineering Technology, 10(XI), 656–659. https://doi.org/10.22214/ijraset.2022.47397
Kiruthiga, B., Shunmugalatha, A., Alagu, C. R., Ashwini, S., & Madhumitha, C. S. (2022). Smart med box system using IoT. International Research Journal of Modernization in Engineering Technology and Science, 4(6), 976-980.
Nasir, Z., Asif, A., Nawaz, M., & Ali, M. (2023). Design of a smart medical box for automatic pill dispensing and health monitoring. Engineering Proceedings, 32(7), 1-6.