ต้นแบบระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟภายในบ้านด้วยแอปพลิเคชันบลิ้ง

ผู้แต่ง

  • บุญญฤทธิ์ คำหมอน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก
  • วิไรวรรณ แสนชะนะ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

คำสำคัญ:

ต้นแบบ, ระบบควบคุม, การเปิดปิดไฟภายในบ้าน, แอปพลิเคชันบลิ้ง, อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องต้นแบบระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟภายในบ้านด้วยแอปพลิเคชัน Blynk มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมการเปิด-ปิด ไฟภายในบ้านผ่านแอปพลิเคชัน Blynk และ (2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพต้นแบบระบบควบคุมการเปิด-ปิด ไฟภายในบ้านผ่านแอปพลิเคชัน Blynk โดยมีบอร์ด ESP 2866/Node MCU ทำหน้าที่ในการควบคุมการเปิด-ปิดหลอดไฟ พร้อมกับการแจ้งเตือนการทำงานของหลอดไฟและการตั้งเวลาในการเปิด-ปิดหลอดไฟผ่านแอปพลิเคชัน Blynk ได้ทั้งหมด โดยทำการทดสอบ 3 ด้าน ได้แก่ (1) การเปิด-ปิดหลอดไฟ ทีละดวง 5 ครั้ง พบว่า การทำงานของหลอดไฟทำงานปกติโดยไม่มีเหตุขัดข้องทั้ง 5 ครั้ง (2) การเปิด-ปิดหลอดไฟ พร้อมกันทั้งหมด โดยตั้งเวลาการทำงาน 5 ครั้ง พบว่า ทำงานปกติทั้งการเปิด-ปิด และ (3) การแจ้งเตือนการเปิด-ปิดหลอดไฟ พร้อมกันทั้งหมดโดยการตั้งเวลาการทำงาน 5 ครั้ง พบว่า มีการแจ้งเตือนขึ้นมาทั้งการเปิด-ปิด ซึ่งการดำเนินการทดสอบ 3 ด้านเป็นไปตามตามวัตถุประสงค์

References

จามจุรี กุลยอด และศิลป์ณรงค์ ฉวีพัฒน์. (2560). ต้นแบบระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟผ่านแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. ใน นวัตกรรมและเทคโนโลยีขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (น. 1388-1393). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ธนพล แก้วคําแจ้ง, ธีรพงษ์ จันตะเสน, สุพรรณ ประทุมชัย, วกร สีสัมฤทธิ์ และวิทยา บุตรโยธี. (2566). การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสร้างหุ่นยนต์พื้นฐานที่ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้สัญญาณบลูทูธเพื่อศึกษาและนําไปใช้งานในการสอน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 7(1), 36-45.

ธนยศ อริสริยวงศ์, โปษิน จันทนมัฏฐะ, ธนากร วงศ์อมเรศ และชัชวาล การะวัล. (2564). ระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับโรงเรือนเกษตรอินทรีย์. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 13(25), 52-63.

ธีรวัฒน์ หงษ์เวียงจันทร์. (2555). ระบบควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอนดรอยด์และเว็บแอปพลิเคชัน [ปริญญานิพนธ์บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นนท์ปวิธ นุชโพธิ์ และอรรนพ ไชยเรือน. (2557). เครื่องเปิดประตูด้วยโทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์ [ปริญญานิพนธ์บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ปวิชญา สมทรง, สรณ์สิริ คนึงคิด และสุพาพร บรรดาศักดิ์. (2563). ระบบฟาร์มไก่ไข่อัจฉริยะที่ทำงานอัตโนมัติด้วยเซนเซอร์และควบคุมได้ด้วยมือถือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 2(3), 168–175.

มุหัมมัด มั่นศรัทธา, มูฆอฟฟัล มูดอ, อับดุลเลาะ สะนอยานยา และซุลกีฟลี กะเด็ง. (2560). ระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติภายในห้องน้ำโดยใช้โครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย ESP8266/Node MCU. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(2), 73-82.

รุจกา สถิรางกูร, พัลลภา มิตรสงเคราะห์ และอํานวย วิชญะลาส. (2563). การออกแบบสภาพแวดล้อมแบบสมาร์ทเลิร์นนิ่งโดยใช้อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(3), 25-36.

วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิน. (2558). เทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์ปฏิวัติสมองกลแห่งศตวรรษที่ 21. ไมโครคอมพิวเตอร์, 33(354), 45-56.

สมประสงค์ อินทรรักษ์ และสุนันทา ศรีม่วง. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านระบบ. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(1), 57–62.

สุวิทย์ กิระวิทยา. (2562). การสร้างแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมสิ่งประดิษฐ์ด้วย Blynk. ใน การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์และเซนเซอร์ในการสร้างนวัตกรรม (น. 125-138). ไทยบริดจสโตน. http://suwitkiravittaya.eng.chula.ac.th/B2i2019BookWeb/blynkapp1.html

อภิรักษ์ พันธุ์พณาสกุล, ฟิตรี ยะปา และอัลนิสฟาร์ เจะดือราแม. (2563). การพัฒนาระบบเปิด-ปิดไฟด้วยไมโครเซนเซอร์ควบคู่กับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 (น. 994-1012). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Kramp, T., van Kranenburg, R., & Lange, S. (2013). Introduction to the internet of things. In A. Bassi, M. Bauer, M. Fiedler, T. Kramp, R. van Kranenburg, S. Lange, & S. Meissner (Eds.), Enabling things to talk (pp. 1-10). Springer. https://doi.org/10.1007/978-3-642-40403-0_1

Lutz, R. (2021, January 11). The implications of the internet of things for education. Systech. https://ww2.systech.com/iot-applications/the-implications-of-the-internet-of-things-for-education

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20