การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อรวรา ใสคำ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ, การลงทะเบียนกิจกรรม, กิจกรรมห้องสมุด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (2) พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ (3) ประเมินความพึงพอใจระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยดำเนินการวิจัยตามหลักการวิจัยและพัฒนา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 377 คน ใช้วิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานมีปัญหาในการใช้งานระบบเดิม ค่าเฉลี่ย 4.46 อยู่ในระดับมาก โดยพบปัญหาไม่มีคู่มือการใช้งานระบบ ไม่สามารถตรวจสอบประวัติการเข้าร่วมกิจกรรมได้ ไม่มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งานระบบ และไม่สามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้ จึงมีความต้องการในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้สามารถตรวจสอบประวัติการเข้าร่วมกิจกรรมได้ สามารถเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลของตนเองได้ มีวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้ Username และ Password เดียวกันกับการใช้ Wi-Fi ของมหาวิทยาลัย สามารถเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของกิจกรรม และมีการแจ้งเตือนวันและเวลาของการลงทะเบียนกิจกรรมผ่านทางอีเมล พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามขั้นตอนวงจรการพัฒนาระบบ และเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชัน ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนกิจกรรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.22

References

กนิษฐา อูเซ็ง, จันทรวิมล สะแหล๊ะ และศิริญาพร ปรีชา. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ใน สลิล บุญพราหมณ์ และสุภาภรณ์ ใจรังษี (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 (it127, น.1-8). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ณัฐวรรณ ธรรมวัชรากร. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามงานทุนวิจัยภายนอกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นรเชษฐ์ วันวัฒน์สันติกุล, วิชญวัชญ์ เชาวนีรนาท และสุทิศา ซองเหล็กนอก. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศผลการเรียนออนไลน์ กรณีศึกษาโรงเรียนดงมะไฟวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(67), 1-7.

ภคิน กรณ์ธมนต์โภคิน และวิศรุต ขวัญคุ้ม. (2564). การพัฒนาระบบลงทะเบียนกิจกรรมกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ใน พรรณวิภา แพงศรี (บ.ก.), วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม น้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาประเทศ. การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (น. 819-830). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุระ วรรณแสง, ยศพร การงาน, กนกพร ฉิมพลี และนุชจรี ภักดีจอหอ. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศสมุดพกสำหรับครัวเรือนของจังหวัดนครราชสีมา. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 341-356.

Avison, D. E., & Fitzgerald, G. (2003). Where now for development methodologies? Communications of the ACM, 46(1), 78-82.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29