การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการวัดสมรรถภาพการกระโดดแนวดิ่ง

ผู้แต่ง

  • หฤษฎ์ อภิเดช สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหอการค้าไทย
  • สุวรรณี อัศวกุลชัย สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ทดสอบสมรรถภาพทางกาย, กระโดดในแนวดิ่ง, เซนเซอร์วัดแรงเฉื่อย, โมบายแอปพลิเคชัน, โทรศัพท์เคลื่อนที่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันทดสอบสมรรถภาพการกระโดดในแนวดิ่งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ การพัฒนาศึกษาแอปพลิเคชันในครั้งนี้ ตามหลักการวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งแต่การศึกษาปัญหา จนถึงการบำรุงรักษา ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาของอุปกรณ์มาตรฐานในการวัดประเมินสมรรถภาพทางกาย เช่น วิ่ง เร่งความเร็ว และเปลี่ยนทิศทาง มีขนาดใหญ่และราคาแพง ปัจจุบันมีเซนเซอร์วัดความเฉื่อย (IMU) ที่ติดตั้งในโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งข้อมูลความเร็วและความเร่ง ผู้ใช้ต้องการอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก ราคาไม่แพง การวิเคราะห์และออกแบบระบบด้วย UML ในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันวัดแรงเฉื่อยในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการสร้างส่วนต่อประสานโปรแกรม (API) ใช้โปรแกรมแอนดรอยด์และจาวา ในการจัดการข้อมูลจากเซนเซอร์วัดแรงเฉื่อย และนำข้อมูลมาคำนวณหาความสูงของการกระโดดในแนวดิ่ง พบว่า โมบายแอปพลิเคชันทดสอบสมรรถภาพการกระโดดในแนวดิ่งโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถคำนวณผลลัพธ์ออกมาเป็นความสูงของการกระโดดได้ และรายงานระดับสมรรถภาพทางกายผ่านการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ประกอบด้วย โค้ช นักกีฬา และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมด้วยคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก ผู้ใช้มีความพึงพอใจมากกับอุปกรณ์ที่ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สะดวกในการใช้งาน ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.76 และในขั้นตอนต่อไป จะนำผลการประเมินสมรรถภาพทางการกระโดดในแนวดิ่งจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเทียบกับอุปกรณ์มาตรฐาน

References

ถาวร กมุทศรี, อารมย์ ตรีราช, อรวรรณ เจริญผล, สินตยา ชูดำ, วัฒนชัย หาทรัพย์ และนลินรัตน์ สมหวัง. (2562). การพัฒนาเกณฑ์สมรรถภาพทางกายนักกีฬามหาวิทยาลัยไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 19(1), 69-90.

Aragón, L. F. (2000). Evaluation of four vertical jump tests: Methodology, reliability, validity, and accuracy. Measurement in Physical Education and Exercise Science, 4(4), 215–228.

Hellec, J., Chorin, F., Castagnetti, A., & Colson, S. S. (2020). Sit-to-stand movement evaluated using an inertial measurement unit embedded in smart glasses—A validation study. Sensors, 20(18), 5019.

Ludbrook, J. (2002). Statistical techniques for comparing measurers and methods of measurement: A critical review. Clinical and Experimental Pharmacology and Physiology, 29(7), 527–536.

Marković, S., Dopsaj, M., Tomažič, S., Kos, A., Nedeljković, A., & Umek, A. (2021). Can IMU provide an accurate vertical jump height estimate? Applied Sciences, 11(24), 12025.

Milosevic, M., Jovanov, E., & Milenković, A. (2013). Quantifying timed-up-and-go test: A smartphone implementation. In Body sensor networks. IEEE international conference (pp. 1-6). IEEE Xplore. https://doi.org/10.1109/BSN.2013.6575478

Picerno, P., Camomilla, V., & Capranica, L. (2011). Countermovement jump performance assessment using a wearable 3D inertial measurement unit. Journal of Sports Sciences, 29(2), 139–146.

Quagliarella, L., Sasanelli, N., Belgiovine, G., & Cutrone, N. (2006). Flying time evaluation in standing vertical jump by measurement of ankle accelerations. Gait & Posture, 24(S1), S56-S57.

Suarez-Arrones, L., Gonzalo-Skok, O., Carrasquilla, I., Asián-Clemente, J., Santalla, A., Lara-Lopez, P., & Núñez, F. J. (2020). Relationships between change of direction, sprint, jump, and squat power performance. Sports, 8(3), 38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25