การใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ระบบสื่อสาร, สารสนเทศ, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยติดเตียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียง (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียง และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน และกลุ่มเป้าหมายผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า: (1) ระดับการใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียง โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียง โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านสภาพทางเศรษฐกิจX1 ด้านวัฒนธรรมและทัศนคติX3 และด้านการบริหารจัดการX5 ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาการใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศ คือ (3) ควรให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถในการให้บริการเกี่ยวการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร เพื่อความรวดเร็วต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงอย่างมีประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ให้บริการได้อย่างชัดเจน โดยมีการให้บริการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของผู้ป่วยติดเตียงเข้ากับระบบสารสนเทศของหน่วยงาน เพื่อสะดวกในการให้บริการอย่างสุภาพเอาใจใส่ในการบริการและการอธิบาย ชี้แจง แนะนำขั้นตอนการให้บริการ ตลอดการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกเวลามาใช้บริการอย่างเหมาะสม
References
กรมการแพทย์. (2557). การพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ชลการ ทรงศรี. (2559). การจัดบริการสุขภาพที่บ้าน. เพ็ญพรินติ้ง.
ประยูร อิมิวัตร์, นำขวัญ วงศ์ประทุม, กฤษณะ สมควร และสมเกียรติ ตุ่นแก้ว. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(2), 364-378.
พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ์, นิสาชล นาคกุล และวิชญา โรจนรักษ์. (2559). สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 54-64.
มาริษา รักษากิจ และมาริสา จันทร์ฉาย. (2564). รูปแบบกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา. ใน University Engagement. การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม (CSD สัมพันธ)์ ระดับชาติ ครั้งที่ 20 (น. 239-248). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สนธยา สวัสดิ์. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สายพิณ เกษมกิจวัฒนา และปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. (2557). ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล, 29(4), 22-31.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). ผู้สูงอายุไทย. สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.