ระบบจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยนักศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้แต่ง

  • ณิชนันทน์ กะวิวังสกุล สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ไหมคำ ตันติปทุม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อัครเดช จิรพรศิรพัชร สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ, การพัฒนาเว็บไซต์, การจัดการข้อมูล, ระบบฐานข้อมูล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยนักศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (2) เพื่อประเมินคุณภาพระบบจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาซึ่งเป็นผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลงานวิจัย โดยระบบถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน และเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล MySQL และใช้ Bootstrap Framework ในการออกแบบการแสดงผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพเว็บไซต์ และกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานจำนวน 315 คน เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62 และกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73

References

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2563). การพัฒนาระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาแบบ 360 องศา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 59-71.

ณัฏฐนันท์ ศูนย์จันดา. (2560). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณิชนันทน์ จงใจสิทธิ์ และวัชรีภรณ์ ดีสุทธิ. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(57), 100-109.

ทัศนีย์ ทรัพย์ประมวล. (2566). ระบบบริหารการสอบรายวิชาโครงงานการศึกษาเอกเทศบริบทของการศึกษาในช่วงหลีกเลี่ยงโรคระบาด. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 4(1), 17-31.

ธนกร มีประสาท และณัฐพัชญ์ ศรีราจันทร์. (2566). การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับการจัดการข้อมูลพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการศึกษา. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 4(1), 59-73.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัตน์ พูลเขตนคร, ธนวัตน์ เจริญษา, นิตยา นาคอินทร์, ออกัสติน อักบี และภาสกร เรืองรอง. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(6), 478-494.

รัตนาวดี เที่ยงตรง และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2565). การศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 404-418.

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ, จิระศักดิ์ ธาระจักร์ และปาโมกข์ รัตนตรัยาภิบาล. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาระบบสารสนเทศในการจัดการทรัพยากรและฐานข้อมูล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร.

วรินทร ซอกหอม และนครินทร์ ชัยแก้ว. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 8(1), 117-129.

ศักดา ปินตาวงค์. (2563). การพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยผ่านเว็บแอปพลิเคชันของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(2), 55-70.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ และวาสนา แก้วผนึกรังษี. (2561). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทยเพื่อ นำไปสู่ Thailand 4.0. วารสารวิชาการ กสทช. ประจําปี 2561, 2(2), 23-42.

สายพิณ ปั้นทอง. (2563). กลยุทธ์การจัดการรูปแบบการทำงานเพื่อการพัฒนาสู่องค์กรยุคใหม่. ในศาสตร์พระราชา และการวิจัยเพื่อสร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Disruptive Technology. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (น. 1400-1407). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุกัญชลิกา บุญมาธรรม. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล). วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 51-62.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Bomström, H., Kelanti, M., Annanperä, E., Liukkunen, K., Kilamo, T., Sievi-Korte, O., & Systä, K. (2023). Information needs and presentation in agile software development. Information and Software Technology, 162, Article 107265. https://doi.org/10.1016/j.infsof.2023.107265

Farias-Gaytan, S., Aguaded, I., & Ramirez-Montoya, M. S. (2023). Digital transformation and digital literacy in the context of complexity within higher education institutions: A systematic literature review. Humanities & Social Sciences Communications, 10, Article 386.https://doi.org/10.1057/s41599-023-01875-9

Lapuz, M. C. M. (2023). The role of local community empowerment in the digital transformation of rural tourism development in the Philippines. Technology in Society, 74, Article 102308. https://doi.org/10.1016/j.techsoc.2023.102308

Rodrigues, L. F., Oliveira, A., & Rodrigues, H. (2023). Technology management has a significant impact on digital transformation in the banking sector. International Review of Economics & Finance, 88, 1375-1388. https://doi.org/10.1016/j.iref.2023.07.040

Taipalus, T., Grahn, H., & Ghanbari, H. (2021). Error messages in relational database management systems: A comparison of effectiveness, usefulness, and user confidence. The Journal of Systems & Software, 181, Article 111034. https://doi.org/10.1016/j.jss.2021.111034

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25