พฤติกรรมการใช้สารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • วรรณรัตน์ บรรจงเขียน สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัลและคอนเทนต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสารสนเทศ, สื่อสังคมออนไลน์, การแสวงหาสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สารสนเทศของนักศึกษา 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อแหล่งสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 335 คน ในปีการศึกษา 2565 ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาเรียงตามลำดับคือ ยูทูบ ( gif.latex?\bar{x} = 4.40, S.D. = 0.91) อินสตาแกรม ( gif.latex?\bar{x}  = 3.68, S.D. = 1.53) เฟซบุ๊ก ( gif.latex?\bar{x}  = 3.44, S.D. = 1.46) และไลน์ ( gif.latex?\bar{x}  = 3.12, S.D. = 1.35) โดยมีวัตถุประสงค์การใช้สื่อออนไลน์เรียงตามลำดับคือ ความบันเทิง ( gif.latex?\bar{x}  = 4.23, S.D. = 1.10) คุย/แลกเปลี่ยนกับเพื่อน ( gif.latex?\bar{x}  = 3.84, S.D. = 1.13) และการค้นคว้าเพื่อการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{x}  = 3.54, S.D. = 1.23) (2) ความพึงพอใจต่อแหล่งสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า (1) ด้านแหล่งสารสนเทศ เรียงตามลำดับ คือ เว็บไซต์ ( gif.latex?\bar{x}  = 4.31, S.D. = 0.80) ร้านหนังสือ ( gif.latex?\bar{x}  = 3.67, S.D. = 0.94) แหล่งบุคคล ( gif.latex?\bar{x}  = 3.65, S.D. = 0.94) และห้องสมุด ( gif.latex?\bar{x}  = 3.53, S.D. = 0.90) และ (2) ด้านสื่อสังคมออนไลน์เรียงตามลำดับคือ ยูทูบ ( gif.latex?\bar{x}  = 4.66, S.D. = 0.62) ติ๊กต็อก ( gif.latex?\bar{x}  = 4.32, S.D. = 0.98) อินสตาแกรม ( gif.latex?\bar{x}  = 4.23, S.D. = 0.83) ทวิตเตอร์ ( gif.latex?\bar{x}  = 4.07, S.D. = 10.98) เฟซบุ๊ก ( gif.latex?\bar{x}  = 4.05, S.D. = 0.93) และไลน์ ( gif.latex?\bar{x}  = 3.92, S.D. = 1.11)

References

กัลยานี เลื่องสุนทร. (2564). การศึกษาทัศนคติของการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(1), 104-121.

ชมเกตุ ชินวัตร. (ม.ป.ป.). ความต้องการสารสนเทศ (Information need) [พาวเวอร์พอยท์ สไลด์]. SlidePlayer. https://slideplayer.in.th/slide/16163016/

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรแกรสชิฟ.

ณัฐพล เมืองตุ้ม. (2565, 16 กุมภาพันธ์). สรุป 52 Insight สำคัญจาก Thailand digital stat 2022 ของ we are social. การตลาดวันละตอน. https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-are-social/

ณิชกุล เสนาวงษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New normal ในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.

ดวงกมล อุ่นจิตติ และสมฤทัย ธีรเรืองสิริ. (2562). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสารสนเทศกับพฤติกรรมนวัตกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิงก์วิทกูเกิล. (2564). Year in search 2021 ย้อนกลับไปดูสิ่งที่คนไทยค้นหา เพื่อขับเคลื่อนการตลาดของคุณ. https://services.google.com/fh/files/misc/yearinsearch_thailand2021_th.pdf

บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555). ประมวลสาระชุดวิชาผู้ใช้และการบริการสารสนเทศ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประภาวดี สืบสนธิ์. (2532). พฤติกรรมการใช้สารสนเทศ. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญจพร เกื้อนุ้ย. (2565). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน โรงเรียนช้างกลางประชานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 198-211.

พลอยมุกดา. (2565, 23 พฤษภาคม). พฤติกรรมการใช้สื่อของแต่ละ Gen. ForeToday. https://foretoday.asia/articles/generationgap/

พัชสิรี ชมภูคำ และณัฐธิดา จักรภีร์ศิริสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบคนเจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(3), 1-18.

ระเบียบ แสงจันทร์. (2565). ห้องสมุดและบริการสารสนเทศยุคชีวิตวิถีใหม่: ประสบการณ์จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารห้องสมุด, 66(1), 21-36.

ส่อง 7 เทรนด์การตลาดออนไลน์ ในปี 2022 ที่ต้องจับตา. (ม.ป.ป.). Thailand Science Park. https://www.sciencepark.or.th/index.php/th/innovation-update/7-digital-marketing-trends-2022/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1540-file.pdf

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct2018.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565ก). การใช้ ICT ของประชาชนในประเทศไทย ปี 2565 (ไตรมาส 2) [อินโฟกราฟิก]. https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2565/ict%202.2565.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565ข). แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2559-2565) ฉบับปรับปรุง. https://drive.google.com/file/d/1BsD2tF0dDnwc60o3jmmm7AW9OB1Tz6Kh/view

เอกภพ อินทรภู่ และปณิตา วรรณพิรุณ. (2564). สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัลอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(1), 193-204.

Chaffey, D. (2022, August 22). Global social media statistics research summary 2022. Smart Insights. https://www.smartinsights.com/social-media-marketing/social-media-strategy/new-global-social-media-research/

Digital 2022: Another year of bumper growth. (2022, January 26). We Are Social. https://wearesocial.com/uk/blog/2022/01/digital-2022-another-year-of-bumper-growth-2/

Large, A., Tedd, L. A., & Hartley, R. J. (2001). Information seeking in the online age: principles and practice. K. G. Saur Verlag Gmbh.

Oghli, M. S., & Almustafa, M. M. (2021). Comparison of basic information retrieval models. International Journal of Engineering Research & Technology, 10(9), 299-303.

Tvrdon, D. (2022, June 15). 10 key takeaways for news subscription managers from the 2022 digital news report. The Fix. https://thefix.media/2022/6/15/10-key-takeaways-for-news-subscription-managers-from-the-2022-digital-news-report

Wilson, T. D. (2000). Human information behavior. Informing Science: The International Journal of an Emerging Transdiscipline, 3(2), 49-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29