ระบบบริหารการสอบรายวิชาโครงงานการศึกษาเอกเทศ บริบทของการศึกษาในช่วงหลีกเลี่ยงโรคระบาด

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ ทรัพย์ประมวล สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

งานประจำสู่งานวิจัย, ระบบสารสนเทศ, การหลีกเลี่ยงโรคระบาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดสอบโครงงานการศึกษาเอกเทศบนหลักการของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ผู้วิจัยตกผลึกความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานนี้เป็นระยะเวลาสิบห้าปี รวมถึงการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เชี่ยวชาญอีกทางหนึ่งด้วย โดยการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันตามขั้นตอนของวอเตอร์ฟอลล์โมเดล ซึ่งใช้ภาษา PHP เป็นภาษาหลักและใช้ MySQL เป็นระบบฐานข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยจึงประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในกระบวนงานการจัดสอบโครงงานการศึกษาเอกเทศแบบออนไลน์ ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในภาวะการหลีกเลี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ผู้วิจัยดำเนินการประเมินทั้งในรูปแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเวลาการทำงานที่ลดลงไปของแบบกึ่งออนไลน์เมื่อเปรียบเทียบกับแบบปกติ คิดเป็นร้อยละ 37.50 เวลาการทำงานที่ลดลงไปของแบบออนไลน์เมื่อเปรียบเทียบกับแบบปกติ คิดเป็นร้อยละ 75.00 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 4.30 จากผลลัพธ์ดังกล่าว ส่งผลให้ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ และในสถานการณ์การหลีกเลี่ยงโรคระบาดได้เป็นอย่างดี

References

กิตติมา เจริญหิรัญ. (2550). การพัฒนาระบบการวิเคราะห์และการสร้างคลังข้อสอบผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 7(2), 5-12.

ชัชวาล ขันติคเชนชาติ และพรกรัณย์ สมขาว. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศผู้ใช้บริการศูนย์บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 153-164.

ทิพวัลย์ แสนคำ, สมศักดิ์ จีวัฒนา และนลินทิพย์ พิมพ์กลัด. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนปฏิบัติการของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(1), 78-88.

พระครูใบฎีกาศรีธนญชัย ธนญฺชยเมธี (สูกรรัตนวงศ์). (2561). การพัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เมทิกา พ่วงแสง และวิสุตา วรรณห้วย. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 4(1), 8-17.

ยง ภู่วรวรรณ. (2563). 5.4 การเว้นระยะห่าง (Social distancing และ personal distancing) [การบรรยายบทเรียนออนไลน์แบบเปิด]. ใน ยง ภู่วรวรรณ และยืน ภู่วรวรรณ, โควิด-19 และระบาดวิทยา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://learningcovid.ku.ac.th/

สกาวรัตน์ จงพัฒนากร, ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์, ปรัชญนันท์ นิลสุข และกัลยณัฎฐ์ กุหลาบเพ็ชรทอง. (2558). ตัวแบบระบบการติดตามโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 109-122.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

หทัยชนก แจ่มถิ่น และอนิรุทธ์ สติมั่น. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 893-911.

Pressman, R., & Maxim, B. (2019). Software engineering: A practitioner's approach (9th ed.). McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29