การพัฒนาต้นแบบระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • กิติศักดิ์ เกิดโต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ชลัช แย้มชื่น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • สุวิชา ชัยวรรณธรรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาต้นแบบ, ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน, หลักการ IP Phone , เทคโนโลยี VoIP

บทคัดย่อ

ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน: SOS Emergency Call System เป็นผลงานต้นแบบแห่งแรกที่ได้นำเอาเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการดูแลชุมชนและสังคม โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสนับสนุนการปฏิบัติงานของตํารวจในเขตพื้นที่ ตามนโยบายและพันธกิจขององค์กรเพื่อรักษาความปลอดภัยของชุมชนและสังคม และการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยหลักการทำงานของระบบ ประกอบด้วย 1) หลักการ IP Phone ด้วยเทคโนโลยี VoIP: โดยนำมาใช้ติดต่อสื่อสารในการพูดคุยกันระหว่างประชาชนผู้แจ้งเหตุฉุกเฉินและตำรวจผู้รับแจ้งเหตุ ร่วมกับการพัฒนาซอฟต์แวร์เขียนโปรแกรมในการจัดการระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน: SOS Emergency Call System และ 2) หลักการ IP Camera: ติดตั้งอุปกรณ์บันทึกภาพพร้อมแสดงตำแหน่งแบบ Real Time โดยการทำงานผ่านระบบเครือข่าย Private Network ซึ่งใช้ MikroTik ในการเชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละจุดที่ติดตั้งตู้ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินด้วยคุณสมบัติการทำงานของระบบที่สามารถดูภาพเหตุการณ์ ณ ปัจจุบันได้พร้อมกันหรือเรียกดูย้อนหลัง จากภาพกล้องจอ Monitor โดยประชาชนผู้แจ้งเหตุฉุกเฉินที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถขอความช่วยเหลือได้โดยการกดเพียงปุ่มเดียว จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจของศูนย์ปฏิบัติการควบคุมสั่งการ ก็จะสามารถมองเห็นภาพ และสนทนาสอบถามข้อมูลการขอความช่วยเหลือผ่านระบบ SOS Emergency Call System ร่วมกับออกแบบให้ เมื่อกดปุ่มขอความช่วยเหลือแล้วจะมีไฟฉุกเฉินสว่างขึ้นรอบตู้เพื่อเป็นจุดสังเกตสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ที่จะทำการลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน

References

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2564). แผนปฏิบัติราชการรายปี พ.ศ.๒๕๖๔ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. (ม.ป.ป.). รายละเอียดขอบเขตของงานและคุณลักษณะเฉพาะ (Terms of reference) จัดจ้างการพัฒนาระบบนำร่อง Smart safety zone เพื่อใช้ในการควบคุมอาชญากรรมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามโครงการวิจัย “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและขยายผลโครงการสมาร์ท เซฟตี้ โซน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน.” http://thaicrimes.org/pdf/pp_20230329_3.pdf

พีระศักดิ์ เลิศตระการนนท์, พนาไพร คุ้มสดวก, สุภาวดี พุฒิหน่อย, และสุจิตรพร เลอศิลป์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์การพัฒนาระบบและศักยภาพของอาสาฉุกเฉินชุมชนในเขตเมืองเพื่อการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://thesecsi.net/SECSICMU/r_pdf/r16.pdf

ศุภกานต์ ไชยนวล. (2562). โครงการเสนอแนะ “การออกแบบระบบบริการและภาพลักษณ์ของศูนย์พึ่งได้และชันสูตร โรงพยาบาลตำรวจ (OSCC)” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในให้การบริการ. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(1), 1296-1313. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/156203

สัณหกฤษณ์ บุญช่วย และสุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2562). การศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในโครงการป้องกันอาชญากรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลาง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(1), 300-340. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/208590

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2564). Smart Safety Zone 4.0. http://smartsafetyzone.police.go.th/

Buf, M., Manso, M., & Guerra, B. (2018). Smart device prototype for automated emergency calls using SIP and TTS to reach legacy emergency services. In E. Fleury, A. Ahrens, C. Benavente-Peces, & N. Cam-Winget (Eds.), Proceedings of the 7th International Conference on Sensor Networks (pp. 115-121). SciTePress. https://doi.org/10.5220/0006631401150121

Dutzler, G. (2021). IP emergency call conversions successful industrial roll-out. Eurofunk News. https://www.eurofunk.com/wp-content/uploads/eurofunk_NEWS_issue_05_EN-1.pdf

Mintz-Habib, M., Rawat, A., Schulzrinne, H., & Wu, X. (2005). A VoIP emergency services architecture and prototype. In S. R. Thuel, Yang Y. Y., & Park E. K. (Eds.), Proceedings 14th International Conference on Computer Communications and Networks (pp. 523-528). IEEE Xplore. https://doi.org/10.1109/ICCCN.2005.1523929

Omotosho, O. J., Okonji, C., Ogbonna, A. C., & Adesina, S. (2020). A prototype web-based emergency response system that incorporates the findings from the shortest route techniques for path optimization. International Journal of Innovative Research in Computer Science & Technology, 8(2), 29-36. https://doi.org/10.21276/ijircst.2020.8.2.4

Paredes, H., Fonseca, B., Cabo, M., Pereira, T., & Fernandes, F. (2014). SOSPhone: A mobile application for emergency calls. Universal Access in the Information Society, 13(3), 277-290. https://doi.org/10.1007/s10209-013-0318-z

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29