การพัฒนาระบบต้นแบบเพื่อการจัดการความรู้ด้านหลักสูตรด้วยเว็บเซอร์วิส
คำสำคัญ:
การพัฒนาเว็บไซต์, หลักสูตร, เว็บเซอร์วิส, วงจรการพัฒนาระบบบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบต้นแบบในการจัดการความรู้ด้านหลักสูตรด้วยเว็บเซอร์วิส 2) เพื่อพัฒนาระบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านหลักสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบในความเหมือนและความแตกต่างของหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม และ 4) เพื่อประเมินผลระบบที่พัฒนาและวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ โดยระบบต้นแบบที่พัฒนาใช้แนวคิดการพัฒนาระบบด้วยวงจรการพัฒนาระบบและใช้เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสเข้ามาช่วยในการรวบรวมข้อมูลหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม การประเมินผลการพัฒนาระบบใช้กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพเว็บไซต์และเว็บเซอร์วิสที่พัฒนา และ 2) ผู้ทดสอบการใช้งาน อาจารย์ และนักศึกษา จำนวน 30 ท่าน เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการประเมินคือ เว็บไซต์และเว็บเซอร์วิสที่พัฒนา แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นได้พัฒนาจากการวิเคราะห์ข้อมูลและความต้องการเบื้องต้น การออกแบบฟังก์ชันงานของระบบสามารถนำไปใช้งานได้จริงในระดับหนึ่ง การประเมินคุณภาพระบบในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.48 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.80 อยู่ในระดับมาก
References
ไกรทพนธ์ เติมวิทย์ขจร, ศิริชัย นามบุรี และนิมารูนี หะยีวาเงาะ. (2559). รายงานวิจัยการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ธนภัทร สัมพันธ์รัตนชัย และวิเชียร ชุติมาสกุล. (2561). การเชื่อมโยงข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี เว็บเซอร์วิส. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 116-128.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ไพศาล สิมาเลาเต่า และอุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา. (2557). การพัฒนาโมเดลการแพร่ของโรคระบาดบนระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ผ่านไดนามิคเว็บเซอร์วิส. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 10(2), 1-6.
ลาวัณย์ ค้าขาย. (2558). การเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการค้นคว้าทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ: กรณีศึกษาคณะสถาปัตยกรรม 3 มหาวิทยาลัย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 71-79.
วรุจน์ ไกยวัฒน์, นิมิตร ศรีสงคราม และธนากร วรสวัสดิ์. (2556). ระบบจัดการข้อมูลประวัตินักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ [ปริญญานิพนธ์บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วีณาวดี ม่วงอ้น และคทาวุธ แก้วบรรจง. (2559). ระบบการสืบค้นเว็บเซอร์วิสโดยการใช้เวคเตอร์สเปซโมเดล. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 3(5), 237-248.
สมชัย ตระการรุ่ง. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรปริญญาตรีดนตรีบำบัดในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 12(2), 61-86.
สุวิช ถิระโคตร, กชพรรณ ยังมี, มนันยา นิ่มพิศาล, ปริวัฒน์ พิสิษฐพงศ์ และภัทธิรา สุวรรณโค. (2564). การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาการ สารสนเทศ. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 3(2), 122-135.
เอกชัย แน่นอุดร และศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล. (2561). การคัดเลือกเว็บเซอร์วิสเชิงความหมายโดยพิจารณาถึงคุณภาพการบริการสำหรับการท่องเที่ยว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2), 304-317.