หน่อพุทธพงศ์และหน่อพระอรหันต์ในตำนานอุรังคธาตุ

Main Article Content

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี
ธณิกานต์ วรธรรมานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ วิเคราะห์เรื่องหน่อพุทธพงศ์กับหน่อพระอรหันต์ในตำนานอุรังคธาตุ พบว่าหน่อพุทธพงศ์เป็นคำที่ใช้เรียกพระยาติโคตรบูรเมืองศรีโคตรบอง และพระไชยเชษฐาธิราชเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็น 2 พระชาติใน 17 พระชาติของพระศรีอาริยเมตไตรยพระพุทธเจ้าในอนาคตองค์ที่ 1 กับใช้เรียกบุรีจันอ้วยล้วยเมืองจันทบุรี ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระธรรมราชาพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าในอนาคตองค์ที่ 3 การสั่งสมบารมีของหน่อพุทธพงศ์ทั้ง 2 คือ การสถาปนา ทำนุบำรุงรักษา และฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเมืองต่างๆ บนแผ่นดินที่ราบลุ่ม 2 ฝั่งแม่น้ำโขง สำหรับหน่อพระอรหันต์เป็นคำเรียกกษัตริย์ทั้ง 5 พระองค์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการประดิษฐานพระอุรังคธาตุใน พ.ศ. 1 ได้แก่ พระยาสุวรรณภิงคารเมืองหนองหานหลวง พระยาคำแดงเมืองหนองหานน้อย พระยาจุลณีพรหมทัตเมืองจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนครเมืองอินทปัฐ และพระยานันทเสนเมืองศรีโคตรบอง กษัตริย์ทั้ง 5 พระองค์นี้ทรงเป็นหน่อเนื้อของพระอรหันต์ 5 พระองค์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการฐาปนาพระอุรังคธาตุใน พ.ศ. 200 ได้แก่ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระสังขวิชเถระ ทั้งนี้หน่อพุทธพงศ์จะเสวยพระชาติเป็นกษัตริย์กับฤาษีเท่านั้น ไม่เสวยพระชาติเป็นพระอรหันต์ เพราะอำนาจของนิพพานอันเป็นสมบัติแห่ง
พระอรหันต์จะทำให้พ้นไปจากการจุติและอุบัติในพระชาติต่อไป ซึ่งเป็นอุปสรรคในการสั่งสมบารมีที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

Article Details

How to Cite
อภิศักดิ์มนตรี ศ. . ., & วรธรรมานนท์ ธ. . . (2023). หน่อพุทธพงศ์และหน่อพระอรหันต์ในตำนานอุรังคธาตุ. วารสารพุทธศิลปกรรม, 2(1). สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/barts/article/view/1622
บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ธณิกานต์ วรธรรมานนท์, ภัณฑารักษ์ชำนาญการ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน

บทความวิชาการนี้ วิเคราะห์เรื่องหน่อพุทธพงศ์กับหน่อพระอรหันต์ในตำนานอุรังคธาตุ พบว่าหน่อพุทธพงศ์เป็นคำที่ใช้เรียกพระยาติโคตรบูรเมืองศรีโคตรบอง และพระไชยเชษฐาธิราชเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็น 2 พระชาติใน 17 พระชาติของพระศรีอาริยเมตไตรยพระพุทธเจ้าในอนาคตองค์ที่ 1 กับใช้เรียกบุรีจันอ้วยล้วยเมืองจันทบุรี ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระธรรมราชาพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าในอนาคตองค์ที่ 3 การสั่งสมบารมีของหน่อพุทธพงศ์ทั้ง 2 คือ การสถาปนา ทำนุบำรุงรักษา และฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเมืองต่างๆ บนแผ่นดินที่ราบลุ่ม 2 ฝั่งแม่น้ำโขง สำหรับหน่อพระอรหันต์เป็นคำเรียกกษัตริย์ทั้ง 5 พระองค์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการประดิษฐานพระอุรังคธาตุใน พ.ศ. 1 ได้แก่ พระยาสุวรรณภิงคารเมืองหนองหานหลวง พระยาคำแดงเมืองหนองหานน้อย พระยาจุลณีพรหมทัตเมืองจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนครเมืองอินทปัฐ และพระยานันทเสนเมืองศรีโคตรบอง กษัตริย์ทั้ง 5 พระองค์นี้ทรงเป็นหน่อเนื้อของพระอรหันต์ 5 พระองค์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการฐาปนาพระอุรังคธาตุใน พ.ศ. 200 ได้แก่ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระสังขวิชเถระ ทั้งนี้หน่อพุทธพงศ์จะเสวยพระชาติเป็นกษัตริย์กับฤาษีเท่านั้น ไม่เสวยพระชาติเป็นพระอรหันต์ เพราะอำนาจของนิพพานอันเป็นสมบัติแห่งพระอรหันต์จะทำให้พ้นไปจากการจุติและอุบัติในพระชาติต่อไป ซึ่งเป็นอุปสรรคในการสั่งสมบารมีที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

References

กรมศิลปากร. (2537). อุรังคธาตุ ตำนานพระธาตุพนม. พิมพ์เนื่องในการสัมมนาทางวิชาการเรื่องวรรณกรรมสองฝั่งโขง. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้ว.

ไกลฤกษ์ ศิลาคม. “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช: โพธิกษัตริย์กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาที่สองฝั่งโขง” วารสารพื้นถิ่นโขงชีมูล. 3(1), 151-186.

บำเพ็ญ ระวิน (ปริวรรต). (2535). อนาคตวงส์ เมตเตยยสูตต์ และเมตเตยยวงส์ สำนวนล้านนา. เชียงใหม่: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: จันทร์เพ็ญ.

พระมหาสิทธิชัย ชยสิทธิ. (ปริวรรต). (2563). ตำนานพระธาตุตะโค้งเจ้า ฉบับใบลาน วัดร่องฟองเมืองแพร่. แพร่: แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพระบรมสารีริกธาตุกับการสร้างบ้านเมืองบนที่ราบเชียงแสน. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. (2545). ลำดับกษัตริย์ลาว. กรุงเทพมหานคร: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร.