Factors affecting the Decision to Study at the Bachelor's Degree in the Faculty of Education (5-year program) at Buriram Rajabhat University, Academic Year 2023

Main Article Content

Suchart Homjan
Krapan Sri-gran
Phatchanee Kultanan
Wanida Homjan

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์(หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะ    ครุศาสตร์ จำนวน 225 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ตัวแปรพยากรณ์ ประกอบด้วย ความคาดหวังของครอบครัว การรับรู้โลกอาชีพและการทำงาน ลักษณะทางกายภาพ ชื่อเสียงและค่านิยม  หลักสูตร การแนะแนว และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรเกณฑ์ คือ การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์(หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถนำมาใช้ทำนายการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี  คณะครุศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2566 มี 3 ปัจจัย โดยเรียงปัจจัยที่มีอิทธิพลจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการแนะแนว (X6)  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X7)  และลักษณะทางกายภาพ (X3) เมื่อเข้าสมการถดถอยแล้วได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.697 และค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 48.60 (R2 = 0.486) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้


          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


                    Y′ =  0.683 + 0.341X6 + 0.2181X7  + 0.179X3 


          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


                    Z′Y  =  0.473ZX6 + 0.184ZX7 + 0.171ZX3 

Downloads

Article Details

How to Cite
Homjan, S., Sri-gran, K. ., Kultanan, P. ., & Homjan, W. (2024). Factors affecting the Decision to Study at the Bachelor’s Degree in the Faculty of Education (5-year program) at Buriram Rajabhat University, Academic Year 2023. Journal of Education Mahasarakham University, 18(1), 88–102. retrieved from https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3290
Section
Research Articles
Author Biography

Suchart Homjan, Assistant Professor, Lectural in Educational Research and Evaluation, Faculty of Education Buriram Rajabhat University

BRU

References

กิตติชัย เกษมศานติ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยรัฐบาลของนักเรียนมัธยมปลายในกรุงเทพมหานคร (Factors Influencing Bangkok’s High School Students to Study in Public Universities). วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.16. 189-202.

ไกรสิงห์ สุดสงวน.(2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal Silpakorn University. 10(1), 201-027.

จำลอง นามูลตรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร.

ชัยพร จูผลดี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาในจังหวัดนนทบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. กรุงเทพมหานคร.

ธนภาพ สอนดี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 2(2), 59-64.

นิชานันท์ ปักการะนา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลและแนวทางส่งเสริมการศึกษาต่ออาชีวศึกษา : การวิจัยผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 (ตอนพิเศษ 258 ง), หน้า 12.

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS (รายงานการวิจัย).ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศศิวิมล แสนเมือง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของ นักเรียนที่มีผลการเรียนดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ กจ.ม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ประมาณการผู้สำเร็จการศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงาน จำแนกตามระดับการศึกษา พ.ศ. 2553-2561 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://www.m-society.go.th/article_attach/19451/20726.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2566].

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (30 มีนาคม 2565). สถิติการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx

อลงกรณ์ อัมมวงศ์จิตต์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ที่วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

Admission Premium. (14 กุมภาพันธ์ 2562).จำนวนรับ TCAS ปีการศึกษา2562. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566 จาก https://www.admissionpremium.com/content/4515 . (6 ธันวาคม 2563). จำนวนรับ TCAS ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม

จาก https:// ww.admissionpremium.com/content/5271. (22 ธันวาคม 2564). จำนวนรับ TCAS ปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม

จาก https://www.admissionpremium.com/content/5880

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. et al. (2010). Multivariate Data Analysis(7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Kohn, P.R. (2000). Vocation Identity, Field of Study and College Choice. United State Arizona. Dissertation Abstracts International, 61(03), 879-A, September.

Ming, J. S. K. (2010). Institutional factors influencing students' college choice decision in Malaysia: A conceptual framework. International Journal of Business and Social Science, 1(3).

Pallant, Julie F. (2005). SPSS survival manual : a step by step guide to dataanalysis using SPSS. 2nd ed.Crows Nwst, N.S.W. : Allen & Unwin. Tabachnick, B.G., & Fidell, L.S. (2001). Using multivariate statistics. 4th ed. New York : Harpercollins.