แนวทางการบริหารจัดการเส้นทางสายพระธาตุเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของพระธาตุเจดีย์จังหวัดขอนแก่น 2)ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยววัดพระธาตุเจดีย์ 3)ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเส้นทางสายพระธาตุจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีประวัติความเป็นมา ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม รูปแบบและโครงสร้างของพระธาตุเจดีย์อันนำ ไปสู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสายพระธาตุจังหวัดขอนแก่น งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม ผู้วิจัยได้ทำ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และทำ การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ผู้วิจัยได้กำ หนดพื้นที่การวิจัยแบบเจาะจง จำ นวน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย อำ เภอเมือง อำ เภอน้ำ พองและอำ เภอกระนวน ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในการพัฒนา ดูแล จัดการบริหารและส่งเสริมวัดและพระธาตุเจดีย์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ 1) ภาครัฐ ได้แก่ วัฒนธรรมอำ เภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำ บล นายกเทศมนตรี 2) ภาคชุมชน ได้แก่ กำ นัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำ ชุมชน ผู้นำ ท้องถิ่น กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำ นวน 3 กลุ่มๆ ละ 10 คน รวม 30 คน ประกอบด้วยเจ้าอาวาส นักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ราชการที่มีส่วนข้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยว กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 3 กลุ่มๆ ละ10 คน รวม 30 คน ประกอบด้วย พ่อค้า แม่ค้า เจ้าของร้านค้า เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการเส้นทางสายพระธาตุเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่น ผลการวิจัยพบ 1)การศึกษาประวัติความเป็นมาและมูลเหตุของการสร้างพระธาตุ เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน ของพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและอัฐิธาตุของพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าตลอดจนอัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้คนได้สักการะกราบไหว้ปรารถนาปวารณาตนเข้าสู่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้า ส่วนพระธาตุองค์อื่นที่สร้างขึ้นมาในยุคหลังก็ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้และประกาศศาสนาเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน 2)การศึกษาสภาพ
ปัจจุบันและปัญหาส่วนมากคือขาดการบริหาริหาจัดการที่ถูกต้องและโดยภาพรวมของทุดวัดคือไม่ได้มีการวางแนวทางร่วมกันทั้งด้านการท่องเที่ยวและการรองรับผู้เข้ามาเยี่ยมชม3)การศึกษา ด้านแนวทางการบริหารจัดการ สถานที่ท่องเที่ยววัดพระธาตุเจดีย์ สภาพการจัดการท่องเที่ยวของวัดที่อยู่ภายในตัวอำเภอเมืองขอนแก่นนั้นมีสภาพที่ใกล้เคียงกันคือวัดมีสภาพการจัดการด้านกายภาพโดยภาพรวมดี มีความสงบ ร่มเย็น ร่มรื่น สะอาด ควรแก่การประพฤติปฏิบัติธรรม และทำ บุญรักษาศีลเจริญจิตภาวนารักษาความสะอาดห้องสุขา การจัดระเบียบร้านค้าต่างๆ มีประสิทธิภาพ สถานที่จอดรถสามารถรองรับพุทธศาสนิกชนได้อย่างเพียงพอ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษณะ ถวิลวงษ์. (2559). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาโรงแรมธรรมะ (temple stay) ของวัดภูเก็ตและชุมชนรอบวัด. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2544). ก้าวสู่สหัสวรรษใหม่: จากบทเรียนการพัฒนา. กรุงเทพฯ.
ธรรมนูญ ประจวบเหมาะ. (2559). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ. รายงานการวิจัย.
พระครูสังฆรักษ์แลคณะ. (2562). สาระมหาชาติ: เจดีย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหา
จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2547). พระพุทธศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราช วิทยาลัย.
พระมหาสมชาย ธีรปภาโส (บุญเกลี้ยง). (2546). การศึกาษาเชิงวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องพระบรมสารีริกธาตุในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการสุพจน์ ศรีปัญญา (คุณวีโร). (2552). การพัฒนาแบบจำ ลองโดยใช้พื้นที่วัดเพื่อสร้างกำ ไรทางการค้าด้วยกระบวนการทางศีลธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัชรี ลินิฐฏา. (2555). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่สากลวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มณีวรรณ ผิวนิ่ม. (2546). การพัฒนาการและผลกระทบของการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำ . รายงานการวิจัย.
ศราวุธ ดรุณวัติ. (2544). ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุด ศรีสมวงศ์. (2519). ตำ นานมูลศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์.
สุนิสา ฐานพรอนันต์. (2540). ความคิดเห็นของเจ้าอาวาสที่มีต่อการส่งเสริมให้วัดพุทธศาสนาในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์.
เสนอ นิลเดช. (2543). สถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).