การวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในรายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ภาณุวัฒน์ สุวรรณกูล
อรนุช พันโท
รสลิน เพตะกร
สารุ่ง ตันตระกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความพร้อมของนักศึกษาสำ หรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสำ รวจความคิดเห็นของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำ นวน 58 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำ นวน 44 คน (ร้อยละ 75.90) ทุกคนมีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบ Wifi จำ นวน 28 คน (ร้อยละ48.30) อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์มือถือมากที่สุด จำ นวน 44 คน (ร้อยละ 75.90) นักศึกษาจะเรียนออนไลน์จากหอพักมากที่สุด จำ นวน 38 คน (ร้อยละ 65.50) สำ หรับความคิดเห็นโดยภาพรวมแล้วนักศึกษาเห็นด้วยกับการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.99

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ รุทเทวิน, ก่อเกียรติ ขวัญสกุล และชวลิต แสงสิริทองไชย. (2562). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(5) 121-129.

ขวัญเมือง แก้วดำ เกิง. (2563). พฤติกรรมของประชากรโลกในช่วงเผชิญภาวะวิกฤติ COVID-19. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 14-23.

ช้องนาง วิพุธานุพงษ์. (2563). การเรียนรู้วิชากฎหมายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์. SPU Educational Transformation to the new normal (หน้า 463-471). กรุงเทพ: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชานนท์ วาสิงหน. (2563). การปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ 5 ด้านในการเรียนแบบออนไลน์. SPU Educational Transformation to the new normal (หน้า 472-482). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชุติมา ธนาวัฒนากร. (2562). การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E โดยใช้สื่อประสม เรื่อง ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Microsof Word 2013) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3 (7) 9-22.

ธรรมรัตน์ แซ่ตัน, โภไคย เฮ่าบุญ , โสภณ จันทร์ทิพย์, ธงชัย สุธีรศักดิ์ และวัชรวดี ลิ่มสกุล. (2564). ความพร้อมต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษาภายใต้สถานการณ์การระบาดไวรัส COVID-19: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 23-37.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. (2563). การประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย. วารสาร T-VET, 47-62.

พิเชษฐ์ แซ่โซว, ชูศักดิ์ ยืนนาน และนัฐิยา เพียรส. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในการศึกษาพยาบาล ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 189-202.

วิทยา วาโย. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 203-213.

สุรัยยา หมานมานะ. (2563). โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 124-133.

เสถียร พูลผล และปฏิพล อรรณพบริบูรณ์. (2563). การสำ รวจความคิดเห็นของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงโควิท 19 เพื่อออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. โครงการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2563 เรื่อง การพัฒนาระบบและกลไกอุดมศึกษาไทย ในยุคพลิกผัน (หน้า 36-47). กรุงเทพ: สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 24-40.

เอื้อมพร ศรีทอง. (2562). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักศึกษา สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยเทพสตรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 26-38.