ผลการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะที่ส่งเสริมทักษะการเต้นรำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ภัทราวุธ โพพันทะราช
ญดา ธาดาณัฐภักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะที่ส่งเสริมทักษะการเต้นรำ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบทักษะการเต้นรำของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้แผนจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะ และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำ นวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยวิธีการจับฉลาก (Lottery) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา กิจกรรมเข้าจังหวะ จำ นวน 4 แผน 12 ชั่วโมง และ 2) การทดสอบทักษะปฏิบัติการเต้นรำ โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะที่ส่งเสริมทักษะการเต้นรำมีค่าเท่ากับ 84.15/83.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้


2. ทักษะการเต้นรำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะ ก่อนเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 67.49 หลังเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 83.28 มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการเต้นรำ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


โดยสรุป การพัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะที่ส่งเสริมทักษะการเต้นรำ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพที่เหมาะสม ช่วยให้นักเรียนปฏิบัติได้จริง มีการใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหว ทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน และได้รับคำ ชมเชยหลังการเต้นรำ ดังนั้นจึงควรนำ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในชั้นอื่นๆ ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กาญจนา ชูเกิด. (2559). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบเพลง. ตรัง: โรงเรียนบ้านควนยาง.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำ หรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊คส์.

จุฑารัตน์ หลีสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบสื่อธรรมชาติ. ลําปาง: โรงเรียนบ้านทุ่งคา.

ดวงพร ศิริสมบัติ. (2539). กิจกรรมเข้าจังหวะ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ปิ่นแก้ว ไชยสลี. (2561). การเรียนรู้โดยการลงมือทำ มีที่มาอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564 จาก https://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/main_php/print_informed.php?id_count_inform= 20871

พรพิมล เวสสวัสดิ์. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีรัตน์ ลีลา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นบ้านสาธิตโดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ระวิวรรณ แซ่หลี. (2558). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลางโดยใช้โปรแกรมการฝึกเพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สงขลา].

รังสฤษฎิ์ บุญชลอ. (2539). กิจกรรมเข้าจังหวะ: Rhythmic activities. ปทุมธานี: บริษัทสกายบุ๊กส์.

สุพิตร สมาหิโต. (2528). การเต้นรำ แบบแอโรบิค. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมบูรณ์ จิระสถิตย์. (2537). กิจกรรมเข้าจังหวะ=Rhythmic activities. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุมาลี เพชรศิริ. (2542). เอกสารประกอบการสอนแอโรบิกดานซ์. สมุทรสาคร: วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). (2563). หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุงตัวชี้วัด พุทธศักราช 2560 (ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2563). Online: https://satit.msu.ac.th/th/data/file_up/20201223033306.pdf

Campbell, A. (2018). Teaching strategies for students with adverse childhood experiences.

Caserta-Henry, C. (1996). Reading buddies: A first-grade intervention program. The Reading Teacher, 49(6), 500-503.

Dusitkul, C., & Wattanaburanon, A. (2012). Effects of physical education activity management by using group dynamic games on aggressive behaviors of elementary school students. Online Journal of Education, 7(1), 1057-1071.

Sobol, E.S. (2014). Autism research: Music aptitude’s effect on developmental/academic gains for students with significant cognitive/language delays. St. John’s University (New York), School of Education and Human Services.