การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ที่ส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาการทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำ นวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มจับฉลากเลือกห้องโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทเบิลเทนนิส กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาตามแนวคิดของเดวีส์ จำ นวน 8 แผน ค่าเฉลี่ยการประเมินแผน เท่ากับ 4.45 มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส ประกอบด้วย การเดาะลูกหน้ามือ
และหลังมือ การเสิร์ฟลูกหน้ามือ การเสิร์ฟลูกหลังมือ การตีลูกหน้ามือ การตีลูกหลังมือ การตีโต้3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ มีค่าความเที่ยงตรง 0.50 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.74
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.34/83.59 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลพัฒนาการทักษะพื้นฐานกีฬาเบิลเทนนิส ทั้ง 6 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการเดาะลูกหน้ามือ – หลังมือ, ทักษะการเสิร์ฟลูกหน้ามือ, ทักษะการเสิร์ฟลูกหลังมือ, การตีลูกหน้ามือ, ทักษะการตีลูกหลังมือ, และทักษะการตีโต้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 73.7 ค่าเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 91.9 และมีค่าเฉลี่ย คะแนนพัฒนาการเท่ากับ 51.1 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับสูง
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศึกราช 2551. สํานักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
กองวิชาการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2551). คู่มือการฝึกสอนกีฬาเทเบิลเทนนิส. สำนักพิมพ์ หจก.ไอเดีย สแควร์.
คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2564). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวลิต ชูกำ แพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชุติมา ศรีเมืองซอง. (2555). การพัฒนาแบบประเมินทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสตามแนวคิดการประเมินตามสภาพจริง สำ หรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2555). เทคนิคและทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ประเดิมชัย เถาแก้ว. (2562). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับจินตภาพที่มีผลต่อความสามารถในการโยนลูกเปตองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา E1/E2 วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(11), 44-51
มนตรี วงษ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์
มะลิวัลย์ มุกเสือ. (2564). การพัฒนาทักษะปฏิบัติวอลเลย์บอลพื้นฐาน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและคุณภาพเครื่องมือสำ หรับการวิจัย. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วรีวรรณ โขนงนุช. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนลายสังคโลกโดยใช้รูปแบบ การเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ศรราม จำเริญพัฒน์. (2564). การพัฒนาทักษะปฏิบัติการเล่นฟุตซอลเบื้องต้นตามแนวคิดของเดวีส์ ประกอบสื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สังข์ทอง จันทร์คลัง. (2549). ระดับทักษะเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2549. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สาธิดา สกุลรัตนกุลชัย. (2563). การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อการวางแผน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หลักสูตรสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563. (2563). หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ฉบับบปรับปรุงตัวชี้วัด พ.ศ. 2560 หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม).
อนุพงษ์ ยุรชัย. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนประกอบแบบฝึกปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องรำ มวยโบราณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อเนก ทอนฮามแก้ว. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน โดยประยุกษ์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำ หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อรพรรณ ตุ่นมี. (2564). การพัฒนาทักษะปฏิบัติพิ้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล ตามแนวคิดของเดวีส์ประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ สำ หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Burdon, L. (2000). Learning by doing : Adult studio activities in an art museum. Masters Abstracts International.
Coleman, H. (1987). Little tasks make large return : Tasked - based Language Learning in Large Crowds. Lancaster : Prentice Hall International and Lancaster University.
Lawrey, E.B.L. (2001). The effects of four drill and practice times units on the decoding performances of students with specific learning disabilities. McGraw-Hill.
Maslow, A.H. (1970). Motivation and personality. Harper and Row.
Owen, P.M. (2002). Bridging theory and parctice : Student teacher use the project approach. Dissertation Abstracts International.
Davies, I.K. (1971). The management of learning. Mc Graw-Hill.
Gilmer, V.H. (1967). Applied psychology. Mc Graw-Hill.
Herzberg. (1959). The motivation to work. John Wiley and Sons.