การสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์

Main Article Content

พิมพ์วลัญช์ ทองวงษ์เพ็ชร
ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดการสอนวิชาดนตรี เรื่องเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดมกุฎกษัตริย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์จำนวน 40 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนั้น เลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดย การจับฉลากมา 1 ห้องเรียน และทำ การทดสอบก่อนเรียนและทดลองสอนโดยการใช้ชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากนั้นจึงทำ การประเมินผลด้วยแบบทดสอบ หลังเรียน ผู้วิจัยใช้คะแนนแบบฝึกระหว่างเรียนกับคะแนนสอบหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างมาคำ นวณหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และนำ คะแนนในการทำ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการเรียนโดยใช้ t-test ซึ่งผลการวิจัยปรากฏว่า การทดสอบประสิทธิภาพของชุดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี สำ หรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ แสดงให้เห็นว่า ชุดการสอน เรื่องเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1 = 89.88) และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2 = 85.13) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำ หนดไว้ คือ 80/80 และผลของพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการทดสอบก่อนเรียน อยู่ที่ ( gif.latex?\bar{x}=12.13 S.D. = 2.15) และหลังจากเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นักเรียนมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการทดสอบหลังเรียน อยู่ที่ ( gif.latex?\bar{x}= 17.03 S.D. = 1.19) ซึ่งเมื่อนำ ผลของการทดสอบก่อนและหลังเรียนมาทำ การเปรียบเทียบ พบว่า ค่า t มีค่าเท่ากับ 90.69 แสดงให้เห็นได้ว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าชุดการสอนที่สร้างขึ้นสามารถนำ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทองวงษ์เพ็ชร พ. ., & พุ่มอินทร์ ป. . (2022). การสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(4), 89–99. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/947
บท
บทความวิจัย

References

จริยา ทศพร. (2553). การพัฒนาชุดการสอน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทวีธาภิเษก 2 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์.มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.

เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา E1/E2. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(11), 44-51.

พระครูวิริยปัญญาภิวัฒ์. (2560). การจัดการเรียนรู้. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมจิต ขอนวงค์. (2554). การจัดการเรียนรู้. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.