การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานต่อทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง

Main Article Content

ดารินทร์ ได้พร
ชาญเรืองฤทธิ์ จันทร์นอก
แววดาว ดาทอง
ดวงสุดา โชคเฉลิมวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบเสาะโดยใช้แบบจำ ลองเป็นฐานและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อมีการเรียนตามแนวคิดการสืบเสาะโดยใช้แบบจำ ลองเป็นฐานในห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง 2) เปรียบเทียบทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมก่อนและหลังเรียนเมื่อมีการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบเสาะโดยใช้แบบจำ ลองเป็นฐานในห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 2 ห้อง ห้องละ 30 คน รวม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำ ลองเป็นฐานจำนวน 9 แผน 14 คาบ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ชนิดมาตรประมาณค่าและชนิดเชิงพฤติกรรม


ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานในห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 33.13 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.59 คิดเป็นร้อยละ 82.83 ซึ่งผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมเชิงประมาณค่า ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 36.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.08 คิดเป็นร้อยละ 73.33 ค่าเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมเชิงเชิงฤติกรรมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.08 คิดเป็นร้อยละ 73.33 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ได้พร ด. ., จันทร์นอก . ช. ., ดาทอง แ. ., & โชคเฉลิมวงค์ ด. . (2022). การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานต่อทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(4), 35–46. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/943
บท
บทความวิจัย

References

เสวียน ประวรรณถา. (2553).การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การดํารงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Clark, D.B., D’Angelo, C.M., & Menekse, M. (2009). Initial structuring of online discussions to improve learning and argumentation: Incorporating students’ own explanations as seed comments versus an augmented-preset approach to seeding discussions. Journal of Science Education and Technology, 18(4), 321–333.

Derry, G.N. (1999). What science is and how it works. Princeton: Princeton University Press.

Jou, M., Lin, Y.T., & Wu, D.W. (2014). Effect of a blended learning environment on student critical thinking and knowledge transformation. Interactive Learning Environments.

Mäkitalo, K., Weinberger, A., Häkkinen, P., Järvelä, S., & Fischer, F. (2005). Epistemic cooperation scripts in online learning environments: Fostering learning by reducing uncertainty in discourse?. Computers in Human Behavior, 21(4), 603–622.

Moonkam & Moonkam. (2006). STEM education monograph series: Attributes of STEM education. Baltimore. MD: Teaching Institute for Essential Science.

National Research Council. (2012). A Framework for K-12 science education: Practices, crosscutting concepts, and core ideas. Washington, DC: National Academy Press.

Oh, P.S., & Oh, S.J. (2011). What Teachers of Science Need to Know about Models: An overview. International Journal of Science Education, 33(8), 1109-1130.

Romberg, Carpenter, & Kwako. (2005). A framework for assessing 21st century skills. In Bellanca, J. & Brandt, R. (Eds.). 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington: IN: Solution Tree Press.

Sinthaphanon, S. (2015). Learning management of Teacher for student in the 21st Century. Bangkok: 9119 Technique printing. (In Thai)

Thonabutra, J. (2017). Applying the 5E knowledge-bases inquisitive learning management for the 21st century. Retrieved May 14, 2018 from https://www.kroobannok.com/news_ file/p20114860835.pdf (In Thai)

Windschitl, M., & Thompson, J. (2008). Transcending simple forms of school science investigation: The impact of preservice instruction on teachers’ understandings of model-based inquiry. American Educational Research Journal, 43(4), 783-835.