การประเมินโครงการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำ เข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำ เนินงานของโครงการ 4) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการ 5) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการ 6) เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการ และ 7) เพื่อประเมินการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการรูปแบบการประเมินโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST ของ Daniel Stufflebeam ประเมิน 7 ด้าน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำ เนินโครงการ ปีการศึกษา 2563-2564 จำ นวน 186 คน ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีงบประมาณ2564 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การประเมินก่อนการดำ เนินโครงการ 2) การประเมินระหว่างดำเนินโครงการ และ 3) การประเมินเมื่อสิ้นสุดการดำ เนินโครงการ ผลการประเมิน พบว่า ด้านบริบทค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำ เข้า และด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านผลกระทบ พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านประสิทธิผลของโครงการ พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อการจัด การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความยั่งยืนของโครงการ และด้านการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำ เนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมนำ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมกิจการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ชารดา จิตต์อำ มาตย์. (2560). การประเมินโครงการสถานศึกษาแบบอย่างการจัด กิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนเหล่าฝ้ายผดุงวิทย์ จังหวัดหนองคาย [วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม].
ณัฐวรรณ แย้มละมัย และสุณี หงส์วิเศษ. (2561). การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเทศบาลตำ บลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 17-25.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มาเรียม นิลพันธ์. (2553). การประเมินหลักสูตรที่เน้นการตัดสินใจโดยใช้วิธีเชิงระบบ โดยในรูปแบบ CIPP Model, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สุปัญญา ชาดง และสิรินาถ จงกลกลาง. (2562). การประเมินหลักสูตรจินตคณิต ของสถาบัน 072 จินตคณิต โดยใช้ CIPPIEST MODEL. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(1), 116-123.
Intrachim, C. (2017). Science of the King: The philosophy of sufficiency economy. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 11(sp1), 295-308.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Stufflebeam, D.L. and Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation theory, models & applications. CA: Jossey-Bass.
Tubporn, H. (2017). The King’s philosophy, sufficiency economy: Wisdom of Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Bansomdejchaopraya Rajabhat
University, 11(1), 66-79.