บทบาทหน้าที่องค์กรทางเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษายุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
องค์กรทางเทคโนโลยีการศึกษาจำ เป็นต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบบทบาทหน้าที่สู่การเป็นองค์กรดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการศึกษาและเอื้ออำ นวยต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดการศึกษาได้เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน เทคโนโลยีการศึกษาจึงมีบทบาทสำ คัญในการนำ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งในด้านการดำ เนินงานของสถาบันการศึกษาด้านการจัดการศึกษาที่จำ เป็นต้องใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาทั้งนี้บทบาทหน้าที่ด้านการผลิตและการให้บริการที่สำ คัญในยุคดิจิทัลขององค์การทางด้านเทคโนโลยีการศึกษานั้นจำ เป็นต้องมีการผลิตบทเรียนและสื่อในรูปแบบออนไลน์ การผลิตและให้บริการแอปพลิเคชันบนมือถือและเว็บไซต์ การพัฒนาและออกแบบระบบการจัดการการเรียนรู้ (LMS) การออกแบบการเรียนการสอน การให้บริการคำ ปรึกษาและฝึกอบรมการใช้แอปพลิเคชันและมัลติมีเดีย การให้บริการเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือประเมินการเรียนรู้และสื่อเชิงโต้ตอบรวมทั้งการให้บริการคำ ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนออนไลน์ เนื่องจากการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ขององค์การทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
ยังไม่พบบทบาทหน้าที่ดังกล่าว จึงจำ เป็นต้องพัฒนารูปแบบการผลิตและการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาสนับสนุนการสอนและการเรียนรู้ให้มีความทันสมัยก้าวทันตามหลักสากล และสอดรับกับทิศทางของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). องค์กรเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธงชัย หงษ์จร. (2553). แบบจำ ลองความเป็นเลิศสำ หรับศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ใน มหาวิทยาลัยเอกชนไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับที่ 4), 136(57ก), 50.
พิษณุ ประจงการ. (2550). การพัฒนาตัวบ่งชี้ปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
วัตสาตรี ดิถียนต์ และ ลัดดา อยู่สำ ราญ. (2564). บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษากับการเรียนรู้ ใน สถานการณ์วิถีปกติรูปแบบใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(2), 331-339.
ศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. (26 มิถุนายน 2562). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://digital.hcu.ac.th/
ศูนย์เทคโนโลยีการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์. (20 สิงหาคม 2564). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2565, จาก https://cit.nus.edu.sg/#
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (7 มีนาคม 2565). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://lic.chula.ac.th/
ศูนย์นวัตกรรมการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว. (27 มิถุนายน 2522). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2565, จาก https://www.titech.ac.jp/
ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยจุงอัง ประเทศเกาหลี. (17 ตุลาคม 2564). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2565, จาก http://ctl.cau.ac.kr/
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (1 มิถุนายน 2563). Digital Transformation เปลี่ยนความท้าทาย เป็นโอกาส. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก https://www.ftpi.or.th/2020/37780? fbclid=IwAR0DsDIu6vVAylMT1uOIMgfTZiwIBrlQ88bE7 thFql0pnL5rbKYCkApfko
สุวิทย์ เจริญพานิช. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ในวิทยาลัยพาณิชยการ. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานนวัตกรรมและเทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษา สแตนฟอร์ด. (13 พฤศจิกายน 2557). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2565, จาก https://gse-it.stanford.edu/
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำ แหง. (9 มิถุนายน 2565). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://techno.ru.ac.th/new/
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (1 กันยายน 2564). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://oet.stou.ac.th/
สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (3 มิถุนายน 2556). บทบาทหน้าที่ขององค์กร. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก http://cemt.swu.ac.th/
Nicola Bellantuono, Angela Nuzzi, Pierpaolo Pontrandolfo and Barbara Scozzi. (2021,November 23). Digital Transformation Models for the I4.0 Transition: Lessons from the Change Management Literature. MDPI, Basel, Switzerland. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565, จาก https://www.mdpi.com /2071-1050/13/23/12941