การพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พุทธศักราช 2561

Main Article Content

วรัญญา พุทธคาวี
ศันสนีย์ จะสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ พุทธศักราช 2561 เพื่อศึกษาสภาพของสถานศึกษาสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ตามกรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ พุทธศักราช 2561 และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา ตามมารฐานการศึกษาของชาติ พุทธศักราช 2561 เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยแบ่งเป็น 2 ระยะซึ่งระยะแรกใช้เครื่องมือวิจัยรูปแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ คือ ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญระยะที่สอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารและครูจำนวน 317 คน แบบสอบถามที่ใช้เป็นชนิดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิเคราะห์กรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ พุทธศักราช 2561 พบว่าจากการสัมภาษณ์ทั้ง 6 ประเด็น ทั้งจากการวิเคราะห์ กรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติพุทธศักราช 2561 เอกสารและการสัมภาษณ์ พบว่ามีประเด็นจากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมทั้งหมด 2ประเด็น คือ ด้านการนิเทศการสอน และ ด้านการประกันคุณภาพ สภาพของสถานศึกษาตามกรอบมาตรฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายมาตรฐานพบว่า ด้านที่มีสภาพสถานศึกษาอันดับสูงสุดได้แก่ ด้านบทบาทของผู้บริหาร และด้านที่มีสภาพสถานศึกษาอันดับต่ำสุดคือ ด้านการพัฒนาสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ซึ่งพบว่าประเด็นสภาพของสถานศึกษา ด้านการประกันคุณภาพ ในประเด็นสถานศึกษามีการจัดทำ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมมีค่าเฉลี่ยที่ต่ำ ที่สุด และแนวทางในการ
พัฒนาที่จากการสัมภาษณ์สรุปได้ว่า มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 สถานศึกษาทุกแห่งยึดเป็นกรอบสำ หรับพัฒนา โดยแตกต่างกันไปตามบริบทตามท้องถิ่นและของสถานศึกษา โดยมีประเด็น 8 ประเด็น เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พุทธศักราช 2561 เพื่อผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา เป็นผู้เรียน ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และพลเมืองที่เข้มแข็ง ผ่านกระบวนการ วิธีการที่เป็นรูปธรรมตามบริบทของสถานศึกษา การดำ เนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยยึดเป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ณัฐสุดา ผาลา. (2553). ผลสัมฤทธิ์จากการเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องคิดด้วยการสืบถามเชิงปรัชญารายวิชา 500206 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานบริการ.

บุญรอด ชาติยานนท์. (2561). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงคข์องนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 2284-2299.

เบญจวรรณ ช่อชู และพร้อมพิไล บัวสุวรรณ (2563). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนวิชูทิศ สำ นักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร.

สินีนาถ นาคลออ. (2559). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุนันทา พลโภชน์. (2561). การพัฒนาบทบาทครูในการดาเนินงานตามกรอบภารกิจของศูนย์ประสานงาน ํการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพัตรา เทศเสนาะ. (2552). การนำ เสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในอำ เภอเก้าเลี้ยว สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

สุริยา กําธร. (2553). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดนาคนิมิตร.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. (2563). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563. จาก http://www.spb3.go.th/spb3/index.ph

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำ กัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษา ของชาติ พ.ศ.2561. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำ กัด.