ความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบภาวะผู้นำครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะผู้นำครูมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติงานของเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบภาวะผู้นำครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือครูจำนวน 314 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำครูมี 6 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู 2) การมีส่วนร่วมในการพัฒนา 3) ผู้นำทางวิชาการ 4) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 6) คุณลักษณะของครูที่ดี ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมี Chi Square = 418.406, df = 393, relative Chi Square = 1.065, p = .181, RMSEA = .014, RMR = .017, GFI = 0.938, NFI = 0.978 สะท้อนถึงความเหมาะสมของโมเดล องค์ประกอบที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือ การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตามด้วย ผู้นำทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และคุณลักษณะของครูที่ดี ผลการวิจัยยืนยันว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำครูมีโครงสร้างที่เหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรุณี แสงหวัง, ธีร หฤทัยธนาสันติ์, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, และนิเลาะ แวอุเซ็ง. (2563). คุณลักษณะภาวะผู้นำครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 31(1), 157-170.
ณัฐพล ปินทอง. (2562). การสังเคราะห์องค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําครูในยุคการศึกษา 4.0 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดารุณี บุญครอง. (2560). วิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาไทยกับการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. Asian Journal of Arts and Culture, 17(2), 1–25.
ทศพร มนตรีวงษ์ และดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Academic Services Journal Prince of Songkla University, 28(2), 10-22.
บุญจันทร์ สีสันต์. (2563). วิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี.
พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โพทอง พงสงคาม, เสาวนี สิริสุข ศิลป์, และเพ็ญณี แนรอท. (2562). การพัฒนาระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำครูในวิทยาลัยครูแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(1), 111-120.
ยุทธ ไกยวรรณ. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสําหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระพงศ์ ตะโกนอก. (2561). ปัจจัยภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น
สร้อยสุดา กรีน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครูสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. (1 ตุลาคม 2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567.สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2567, จาก https://spmkorat.go.th/strategic/
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุภมาศ อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญ ภานุวัฒน์. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ : มิสชั่นมีเดีย.
อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น
Akman, Y. (2021). The Relationships among Teacher Leadership, Teacher Self- Efficacy and Teacher Performance. Journal of Theoretical Educational Science / Kuramsal Eğitimbilim Dergisi, 14(4), 720-744.
Katzenmeyer, M., & Moller, G. (2001). Awakening the sleeping giant: Helping teacher leaders develop as leaders. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Lieberman, A., and Miller, L. (2005). Teachers as Leaders. The Educational Forum, 69(2), 151-162.
York-Barr, J., and Duke, K. (2004). What Do We Know About Teacher Leadership Findings From Two Decades of Scholarship. Review of Educational Research, 74(3), 255-316.