แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเสริมสร้างพลังอำนาจครู และ 2) สร้างแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการของครู จำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร 4 คน และครู 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกข้อมูล สร้างข้อสรุป และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของครูในการเสริมสร้างพลังอำนาจ ได้แก่ การให้แรงจูงใจ การส่งเสริมความร่วมมือในองค์กร การสร้างภาวะผู้นำ การสร้างบรรยากาศที่ดี และการสร้างทีมงาน และ 2) แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครู ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ วิธีการพัฒนา (สอดคล้องกับ 5 ปัจจัยที่กล่าวข้างต้น) และ เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ความชัดเจนของนโยบายและหน้าที่ของครู การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ที่จำเป็น การประเมินผลที่โปร่งใส การให้คำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ การเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วม และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรัชยา เหล่าเขตร์กิจ. (2561). ปัจจัยทำนายความสามารถในการตัดสินใจของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ชนัตพร เหี้ยมหาญ. (2562). บรรยากาศองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การของข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลธัญบุรี, กรุงเทพฯ.
ประภาภรณ์ พรหมมณี. (2565). การพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนบ้านสวนสมบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.
ประวิต เอราวรรณ์. (2562). การวิจัยและพัฒนาองค์การโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาจรีรัตน์ อิงคะวะระ. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ปิยธิดา อำภาพันธ์. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร สถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนพนมดงรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2560). มนุษย์สัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2562). สมรรถนะและการจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
พรวิไล สุขมาก. (2565). หลักวิชาชีพครู=Teaching Profession. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน และสิ่งพิมพ์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มิ่งขวัญ คุ้มวงศ์. (2566). การจัดการความรู้และความร่วมมือในองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ : กรณีศึกษา คุมประพฤติเขต 4. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ยุทธกานต์ โพธิ์หนองคูณ. (2565). การพัฒนาแนวทางการสร้างทีมงานครู สำหรับสถานศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วาณิชญา มานิสสรณ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน กับการรับรู้บรรยากาศองค์การกับความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน โดยมีความผูกพันต่อองค์การ เป็นตัวแปรสื่อ. ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ.
วาริช ลลิตลัคณา. (2559). ระดับความพึงพอใจในกระบวนการผลการปฏิบัติงาน : ศึกษาพนักงานศูนย์ปฏิบัติการเอกสารสัญญา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). สารนิพนธ์ การจัดการโรงพยาบมหาบัณฑิต., มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
อนันต์ นามทองต้น. (2556). มองทางลัดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สหมิตรพริ้น ติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสงคราม. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยลัยศิลปกร, นครปฐม.
Breeding, R.R. (2008). Empowerment as a function of contextual self-understanding. Rehabilitaaton Counseling Bulletin. 51(11), 96-106.
Davis, M.S. (2001).Teacher empowerment: A study of expanding possibilities in the elementary classroom. American Doctoral Dissertation.
Gibson, C.H.(1991).A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing 16(3), 354-361.
Zimmerman,M.A. (2000). Empowerment Theory: Handbook of Community Psychology. New York: Academic/Plemnum.