ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

อธิราช หิรัญสาลี
อำภาพรรณ ตันตินาครกูล
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของครู และ  2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี  กลุ่มตัวอย่างคือครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี จำนวน 371 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบสอบถามเกี่ยวกับความสุขในการทำงานของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความสุขในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของงาน (X2) ปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (X5) ปัจจัยด้านผู้นำและองค์การ (X4)  และปัจจัยด้านค่านิยมส่วนบุคคล (X1) สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 48.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถเขียนสมการได้ดังนี้


          สมการคะแนนดิบ   =  0.910 + 0.252(X2)** + 0.202(X5)** + 0.192(X4)** + 0.147(X1)**


          สมการคะแนนมาตรฐาน y = 0.300(X2)** + 0.260(X5)** + 0.239(X4)** + 0.115(X1)**

Downloads

Article Details

How to Cite
หิรัญสาลี อ., ตันตินาครกูล อ. . ., & ตั้งคุณานันต์ ป. . . (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 19(2), 94–112. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5250
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สุภาราญ. (2565). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566. จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/372.

ชยากานต์ เปี่ยมถาวรพจน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2559). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอทโฟร์พริ้นท์ จำกัด.

ธนภร จันทร์สี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เลย.

ธานิชา มุลอามาตย์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). เมื่อความเครียดของครูมีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียน. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563, จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/85895/-blog-teaartedu-teaart.

บุญจันทร์ สีสันต์. (2563). วิธีวิจัยและสถิติขั้นสูงสำหรับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

บูรินทร์ภัฏ พรหมมาศ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรในสถานศึกษา ของเทศบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.นครราชสีมา.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). ความเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : ห.จ.ก.มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พสชนัน นิรมิตไชยนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูเจเนอเรชั่นวายในโรงเรียนของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 160-176.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

พัชรินทร์ ปุกกันโท. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรใน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.

พันชัย เม่นฉาย. (2563). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต” วารสารบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 16 (2). 61-78.

เพิ่มพูน ชิดชอบ. (2566). นโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข”. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ลิลิต วรวุฒิสุนทร. (2558). ปัญหาอมตะครูไทยเร่งแก้ก่อนการศึกษาดำดิ่ง. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/politic/report/341473.

ศิริโชค ปทุมพิทักษ์. (2561). ผลกระทบต่อชุมชนที่เกิดจากการตั้งนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุดในโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก : กรณีของเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2561 (2). 82-89.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move). (2567). World Happiness Report 2024. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567. จาก https://www.sdgmove.com/2024/03/20/world-happiness-report-2024/.

สพลกิตติ์ สังข์ทิพย์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้าง. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

สุธีรา สีมา. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูใน จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566.จาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldataview_student_select.php?School_ID=1020080051&Edu_year=2565&Area_CODE2=2003.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.ค.ศ.

สำนักงานจังหวัดชลบุรี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2566-2570. ชลบุรี : สำนักงานจังหวัดชลบุรี.

Franklin. (1975). Power and Commitment: An Empirical Assessment. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567. จาก https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/001872677502800804

Manion J. (2003). “Joy at work: Creating a positive workplace.” Journal of NursingAdministration, 33 : 652-655.

Neto, F. (2001). Personality predictors of happiness. Psychological Reports, 817-824.