ผลการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับสื่อดิจิทัลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับสื่อดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับสื่อดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาจำนวน 45 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับสื่อดิจิทัลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ จำนวน 7 แผน 10 ชั่วโมง หาคุณภาพ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความครอบคลุมองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินเป็นมาตราส่วนประมาณค่ามีระดับการวัด 5 ระดับ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ หาคุณภาพ ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง หรือค่า IOC 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 4 ด้าน 15 ข้อ หาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง หรือค่า (IOC) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบที (t-test) แบบไม่อิสร(Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับสื่อดิจิทัลสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน( = 19.04, SD = 0.64) สูงกว่าก่อนเรียน(
= 10.56, SD = 8.39) 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ร่วมกับสื่อดิจิทัล โดยภาพรวมของนักเรียนมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.58, SD = 0.51)
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิดานันท์ มลิทอง. (2531). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่, นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
ธันยวัช วิเชียรพันธ์. (2557). สื่อดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วังอักษร.
พิมพา เพียเทพ. (2549). ผลของการใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ในวิชาสังคมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยแห่งชาติดงโดก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุตาวดี สุขมาก. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์.
โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ. (2566). หลักสูตรสถานศึกษา. จังหวัด สงขลา.
ศุภรางค์ เรืองวานิช และ คณะ. (2560). ผลการใช้สื่อดิจิทัลด้วยความเป็นจริงเสริม เรื่องไหว้พระ 9 วัด สืบสิริสวัสดิ์ 10 รัชกาล. วารสารการอาชีวะ,7(14),9
สรชัย ชวรางกูร. (2561). การพัฒนาสื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมไทย ด้วยแบบจำลอง 3 มิติ เชิงสถาปัตยกรรม วัดไชยวัฒนาราม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ.
อริย์ธัช ฉ่ำมณี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์โดยประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่5. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรทัย มูลค่า และคณะ. (2544). การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ภาคพิมพ์