การประเมินโครงการเปิดโลกกว้างสร้างเส้นทางสู่อาชีพ ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กุลวดี แก้วประวัติ
อัคพงศ์ สุขมาตย์
บุญจันทร์ สีสันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการเปิดโลกกว้างสร้างเส้นทางสู่อาชีพในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 กลุ่มเขต และการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีการจับฉลาก ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 86 คน ครู จำนวน 86 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 381 คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 109 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 553 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 46 ข้อ ฉบับครู จำนวน 46 ข้อ และฉบับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 26 ข้อ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นรายด้านอยู่ระหว่าง 0.81-0.91 กำหนดเกณฑ์การผ่านการประเมินที่ค่าเฉลี่ย 3.51 ขึ้น‍ไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)


ผลการวิจัยพบว่า การประเมินโครงการเปิดโลกกว้างสร้างเส้นทางสู่อาชีพในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, SD = 0.52) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบริบท (= 4.40, SD = 0.62) ด้านปัจจัยนำเข้า (= 4.36, SD = 0.54) และด้านกระบวนการ (‍ = 4.44, SD = 0.56) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านผลผลิต (= 4.51, SD= 0.57) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 3.51 ซึ่งมีผลการประเมิน คือ ผ่านเกณฑ์

Downloads

Article Details

How to Cite
แก้วประวัติ ก., สุขมาตย์ อ. ., & สีสันต์ บ. . . (2025). การประเมินโครงการเปิดโลกกว้างสร้างเส้นทางสู่อาชีพ ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 19(1), 68–86. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5160
บท
บทความวิจัย

References

กีรติ พรหมนรา. (2566). การประเมินโครงการด้านการจัดการทักษะอาชีพและทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านฉลอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580). หน้า 9

จิตรลดา วัฒนศิลป์. (2567). การประเมินโครงการเปิดโลกกว้างสร้างเส้นทางสู่วิชาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช

บุญจันทร์ สีสันต์. (2563). วิธีวิจัยทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มีน เชอร์วิสซัพพลาย.

พันธุ์ธัช ศรีไสยเพชร. (2565). การประเมินโครงการปุ๋ยอินทรีย์จากใบจามจุรี สู่ทักษะอาชีพนักเรียน โรงเรียนวัดนาทุ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี

รวิกานต์ ทวีนันท์. (2565). การประเมินโครงการการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพในโครงการ TSQP-2 โรงเรียนบ้านทุ่งคา“บุณยขจรประชาอาสา” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี

วิไลวรรณ อธิมติชัยกุล. (2561). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี

วรวรรณ ผิวโชติ. (2564). การประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ

สุมาลัย บุญรักษา. (2563). การประเมินโครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: มหาสารคาม

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2566). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: มปพ.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี พ.ศ. 2566 สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ดี.เค.พับลิชชิ่ง

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564 – 2569). กรุงเทพฯ: วันไฟน์เดย์.

สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา. (2566). แนวทางการดำเนินงานของโครงการเปิดโลกกว้าง สร้างเส้นทางสู่อาชีพ ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ: มปพ.

ศรายุทธ ประโมท. (2566). การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธระดับมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ

อุไรวรรณ พูมขุนทด. (2563). การประเมินการนำนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไปสู่การปฏิบัติของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ

Brad A. Trimble. (2013). GEAR UP Aspirations Project Evaluation. Doctoral Dissertations, University of Nevada, Reno.

Cronbach, L. J. (1973). Course Improvement Through Evaluation. In Educational Evaluation Theory and Practice. Worthington: Charies A. Jones.

Stufflebeam, Danial L. and Shinkfield A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco: Jossey-Bass.

Zach. (2021). How to Find the Average of Several Standard Deviations. (2023,September 13) Retrieved from : https://www.statology.org/averaging-standard-deviations.