ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมและการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1 ของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

จิรนันท์ วีรกุล
แพรว สุวรรณศรีสุข
เสาวนาถ สันติชาติ
ธรารัตน์ รณหงษา
ชยกมล นิยะสม

บทคัดย่อ

ผู้ที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม 3 ขั้นตอน และ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร กำหนดให้สอบผ่านการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ 3 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน ในการสอบขั้นตอนที่ 1 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ขั้นตอนที่ 1 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสอบผ่านการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1  3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ และการประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง ของนิสิตแพทย์รหัสรับเข้าปีการศึกษา 2561 – 2563 จำนวนทั้งหมด 500 ราย โดยจะทำการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลมาเปรียบเทียบกับผลการสอบผ่าน ในขั้นตอนที่ 1


ผลการศึกษา พบว่า มีจำนวนนิสิตที่เข้าสอบครั้งแรก จำนวน 498 คน แบ่งเป็น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 162 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 166 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 170 คน จากการวิเคราะห์ พบว่าในเกรดเฉลี่ยในชั้นปีที่ 3 ≥ 3.5 และ นิสิตในกลุ่มสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1 สรุป เกรดเฉลี่ยในชั้นปีที่ 3 ≥ 3.5 และ นิสิตในกลุ่มสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสัมพันธ์ กับการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1

Downloads

Article Details

How to Cite
วีรกุล จ., สุวรรณศรีสุข แ. ., สันติชาติ เ. ., รณหงษา ธ. ., & นิยะสม ช. (2025). ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบผ่านเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมและการสอบเบ็ดเสร็จประมวลความรู้ ขั้นตอนที่ 1 ของนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 19(2), 1–18. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4910
บท
บทความวิจัย

References

ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพของแพทยสภา (ศรว.) (ม.ป.ป.). ประวัติและความเป็นมา. https://cmathai.org/about/History

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ม.ป.ป.).

Gauer, J. L., & Jackson, J. B. (2018). Relationships of demographic variables to USMLE physician licensing exam scores: a statistical analysis on five years of medical student data [Report]. Advances in Medical Education and Practice, 9, 39-44. https://doi.org/10.2147/AMEP.S152684

Giordano, C., Hutchinson, D., & Peppler, R. (2016). A Predictive Model for USMLE Step 1 Scores. Cureus, 8(9), e769. https://doi.org/10.7759/cureus.769

Lertwilaiwittaya, P., Sitticharoon, C., Maikaew, P., & Keadkraichaiwat, I. (2019). Factors influencing the National License Examination Step 1 score in preclinical medical students. Advances in Physiology Education, 43(3), 306–316. https://doi.org/10.1152/advan.00197.2018

Musa, R. M. & Haque, M. (2017). Academic Performance of Pre-Clinical and Clinical Medical Students’ of East Coast Malaysian Peninsula: A Cross-Sectional and Descriptive Study That Stimulates Their Life. Journal of Applied Pharmaceutical Science, 7(6), 169-175. https://doi.org/10.7324/JAPS.2017.70624

Pakdeethai. P. (2016). Prediction of Success in Medical License Examination of Thailand (MLET) Step 1 of Mahasarakham Medical Students. Srinagarind Medical Journal, 31(2), 210-215. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/55917

Rojpibulstit, P., Suealek, N., Vannasiri, S., Ngodngamthaweesuk, N., Rabintossaporn, P., Pankao, V., Srisawat, U.,Kongkham, S., Pornthisarn, S., Manochantr, S., Ngamjariyawat, A., Naowaboot, J. & Krudpathum, W. (2017). Key Success Factors Affecting National Licensing, Step 1, Passing Results of the Endocrinology Block: Lessons Learned from the Faculty of Medicine, Thammasat University. Journal of Medical Association of Thailand, 100, S181-S191. https://www.thaiscience.info/journals/Article/JMAT/10987766.pdf

Shioiri, T., Nakashima, M., & Tsunekawa, K. (2024). When can we identify the students at risk of failure in the national medical licensure examination in Japan using the predictive pass rate? BMC Medical Education, 24, 930 https://doi.org/10.1186/s12909-024-05948-4

Singh, S. & Kamra, D. (2016). Study of Factors Affecting Academic Achievement in Medical Students. Journal of Medical Science and Clinical Research, 4(12), 14968-14972. https://doi.org/10.18535/jmscr/v4i12.109

Tangjitgamol, S., Tanvanich, S., Pongpatiroj, A. & Soorapanth, C. (2013). Factors related to the achievement of the National License Examination Part 1 of medical students in Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. South-East Asian Journal of Medical Education, 7(1), 51-60. https://doi.org/10.4038/seajme.v7i1.150

Tubarad, G. D. T., Sari, T. P., Oktarina, & Shabrina, F. A. (2022). Analytical Study of Predictors of Achievement of Competency Test of Medical Professional Students. Jurnal Kedokteran: Media Informasi Ilmu Kedokteran dan Kesehatan, 8(1), 16-25. https://doi.org/10.36679/kedokteran.v8i1.7

Wanvarie, S. & Sathapatayavongs, B. (2007). Logistic Regression Analysis to Predict Medical Licensing Examination of Thailand (MLET) Step1 Success or Failure. Annals, Academy of Medicine, Singapore, 36(9), 770-773. https://doi.org/10.47102/annals-acadmedsg.V36N9p770

Wanvarie, S. & Prakunhungsit, S. (2008). Step-2 Thai Medical Licensing Examination Result: A Follow-up Study. Annals, Academy of Medicine, Singapore, 37(12), 1024-1026. https://doi.org/10.47102/annals-acadmedsg.V37N12p1024