การพัฒนาชุดการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

Main Article Content

พุทธชาติ ทองโคตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรีที่มีต่อชุดการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 150 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีค่าความเหมาะสมระดับมากที่สุด 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าความเหมาะสมระดับมากที่สุด 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.84-1.00 มีค่าอำนาจการจำแนกระหว่าง 0.28-0.82 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.44-0.82 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อชุดการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.75-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีค่า 84.75/80.28 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชุดการสอน หลังเรียนมีค่า (𝑥̅ = 41.44) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑥̅ = 24.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการสอน พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.02)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทองโคตร พ. (2024). การพัฒนาชุดการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(4), 171–190. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4909
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565, 5 กันยายน). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลกัสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5 (1).

ทิศนา แขมมณี.(2550). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนสิน ชุตินธรานนท์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐานและเป็นไป ตามมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธมกร บุตรศรี และสาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง. (2566). ชุดการเรียนรู้การศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้โครงงานวิชาทศันศิลป์จากหน้ากาก ผีตาโขน อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม., 17(2), 52-65.

ธีระพงษ์ สุขสกล. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธีรภัทร์ สุขสบาย. (2560). การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาการสอนการเขียนภาษาไทย สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 228 น.

ปัญญา ไผ่ทอง. (2549). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนเรื่องการตัดเฉือนด้วยแม่พิมพ์กดตัด. สาขาวิชาเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 84 น.

พงศกร สมมิตร. (2565). นวัตกรรมชุดการสอนเพื่อส่งเสริมการพูดภาษาไทย สำหรับนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย., 50(4), 1-14.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิคการ สอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะ มาสเตอร์ กรุ้ป แมเนจเม้นท์.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2565). หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระดับปริญญาตรี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565). กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. 64 น.

ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา. (2566). หลักการเบื้องตนของ Outcome-based Education และ Pillars of Education. คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุณัชชา เดชสุภา. (2558). การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 187 น.

สุนทร ดอนชัย. (2563). การสร้างและการหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาการออกแบบระบบไฟฟ้า. สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. 69 น.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับบที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา องค์การมหาชน.

Grigoroudis, E. (2009). Customer satisfaction evolution. New York: Springer.

Johnson, D.W., & Johnson, R.T. (1987). Learning together and alone: Cooperative, competitive, and individualistic. Prentice Hall.

Joyce, B & Weil. (1996). M. Models of Teaching. 3rd ed. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Zongrang, Zhang. (2010). A Research on the Gain and Cost of Bilingual teaching of Non-English Oriented Course. (Online). Shandong: Shandong Institute of Business and Technology.