การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SURE ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ซูไลดา สะดี
ศุภกาญจน์ บัวทิพย์
ปาลิดา สายรัตทอง พัฒนพิชัย
บดินทร์ แวลาเตะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SURE 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SURE กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 25 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SURE จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ 25 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SURE มีคะแนน การอ่านจับใจความหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SURE อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน

Downloads

Article Details

How to Cite
สะดี ซ., บัวทิพย์ ศ. ., สายรัตทอง พัฒนพิชัย ป., & แวลาเตะ บ. (2025). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SURE ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 19(1), 17–32. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4895
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลธิดา แก้วตาบุศย์ ผาสุข บุญธรรม และสุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2561.) การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 25-36.

ชาติชาย ม่วงปฐม. (2557). ทฤษฎีการเรียนการสอน. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์, ราชภัฎอุดรธานี มหาวิทยาลัย.

ณิชชา ชินธนามั่นและคณะ. (2561). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญจากสื่อในชีวิตประจำวัน. วารสารครุพิบูล, 5(1), 1-13.

ทิพากร สุขชูศรี, รสสุคนธ์ พหลเทพ, รัตนวดี โชติกพนิช และทวิกา ตั้งประภา. (2560). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อกิจกรรมการสอนระหว่างกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแบบ 3Ps กับกิจกรรมการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. นาคบุตรปริทรรศน์, 9(1), 181-193.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีวรา กมลเพชร. (2564). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยวิธีการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนสาขาการบัญชีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธุวานันท์ ณัฐเมธาธนาศิริ และมนตรี วงษ์สะพาน. (2567). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H ร่วมกับชุดฝึกการอ่านจับใจความ เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(2), 86-101.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ, สุมาลี ชิโนกุล, และสำลี ทองธิว. (2556). หกขั้นตอนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวคิดการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบลึกสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารสุรนารี, 7(2), 59-78.

พิมพ์ผกา ประเสริฐสวัสดิ์ ,และยุพิน ยืนยง. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ ภาษาอังกฤษและการศึกษาพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบSQ3R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 36(2), 191-206.

มารีณีย์ ซี่เลี่ยง และธนาธิป มะโนคำ. (2565). สื่อและกลวิธีในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก. วารสารร้อยแก่นสาร, 7(1), 404-416.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2540). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2542). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สยามรัฐ ลอยพิมาย และชัยรัตน์ วาระ. (2557). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุลัยญา หะยีหามะ, มีชัย วงศ์แดง,และกุสุมา ล่านุ้ย. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ ของนักศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(3), 175-186.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 303-314.

Fitz-Gibbon. carol Taylor. Lyons Morris and Lynn. ji. auth. (1987). How to design a program evaluation. Newbury Park: Sagh.

Gottardo, A., Mirza, A., Koh, P. W., Ferreira, A., & Javier, C. (2018). Unpacking listening comprehension: The role of vocabulary, morphological awareness, and syntactic knowledge in reading comprehension. Reading and Writing, 31, 1741-1764.

Long, M. H. & Richards, J. C. (1987). Methodology in TESOL, A Book of Readings. New York:Newbury House.

Phayat Wutthirong. (2014). Innovation management: Resource learning organization and innovation.263 , Bangkok: Chulalongkorn University Press

Rubin, D. (2001). A critical reader : Malden Mass. Balackwell.

Wilkins, D. A. (1972). Linguistics in Language Teaching. Cambridge: MFT Press.