วิจัยเชิงปฏิบัติการหาแนวทางการส่งเสริมความเข้าใจอย่างรู้แจ้งของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การหารทศนิยม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด

Main Article Content

ชาญชัย ดวงมาลา
วีระศักดิ์ แก่นอ้วน
ปริญา ปริพุฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความเข้าใจอย่างรู้แจ้งของนักเรียน เรื่อง การหารทศนิยม ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการแบบเปิด และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดลำดับของบทเรียนตามแนวคิดของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ดำเนินการวิจัยในโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบบันทึกภาคสนาม แบบสะท้อนผลหลังการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใบกิจกรรม เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ และ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์โพรโทคอล และการสัมภาษณ์ โดยใช้กรอบแนวคิดความเข้าใจอย่างรู้แจ้งของ Kilpatrick, Swafford and Findell และวิธีการแบบเปิดตามแนวคิดของ Inprasitha ใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล และนำเสนอข้อมูลด้วยการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจอย่างรู้แจ้ง คือ 1) การส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอด ออกแบบสถานการณ์ปัญหาจากเรื่องราวในชีวิตประจำวันของนักเรียนที่เชื่อมโยงกับการหารทศนิยม เน้นการกระทำกับสื่อจริงและสื่อเสริม ได้แก่ ภาพแทนสถานการณ์ แผนภาพแถบกระดาษ เส้นจำนวน และเส้นจำนวนเชิงสัดส่วน และให้นักเรียนอภิปรายแลกเปลี่ยนร่วมกัน 2) การส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการ ออกแบบกิจกรรมที่ให้นักเรียนนำเสนอวิธีการของตนเองและเปรียบเทียบกับเพื่อน และ3) การส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ออกแบบกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้แก้ปัญหาและอภิปรายร่วมกันโดยเชื่อมโยงวิธีการที่ได้เรียนรู้มาก่อนแล้วไปสู่การแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัญหาใหม่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ดวงมาลา ช., แก่นอ้วน ว. ., & ปริพุฒ ป. (2024). วิจัยเชิงปฏิบัติการหาแนวทางการส่งเสริมความเข้าใจอย่างรู้แจ้งของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การหารทศนิยม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(4), 153–170. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4311
บท
บทความวิจัย

References

จิระประภา ไชยวุฒิ. (2560). การสำรวจการแสดงแทนความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 56-67.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และวาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563). แนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 65(702), 27-44.

มนสิชา โพธิ์เสนา และสัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2566). การสำรวจการแสดงแทนของนักเรียนในลำดับ กิจกรรมการสอนในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วิจัยวิชาการ, 6(1), 63-77.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2560). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การทำความเข้าใจคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนโดยการวิเคราะห์หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ (Understanding School Mathematics through Analysis of Mathematics Textbook) ในกิจกรรมสัมมนาแบบเข้ม ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม 2560 ณ บ้านสวนชมดาว จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ฉบับที่ 6-ค่าสถิติแยกตามรายวิชาสำหรับโรงเรียน. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2566, จาก https://drive.google.com/file/d/14ymM3lFfXRmMYvo9HVQEuaxcKax430yz/view?usp=drive_link

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2566). ผลการประเมิน PISA 2022 ในระดับนานาชาติ. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2567, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/

สิริพร ทิพย์คง. (2562). เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 64(699), 6-24.

สุกัญญา ธรรมนูญรักษ์, นฤมล ช่างศรี และไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2558). ความเข้าใจอย่างรู้แจ้ง เรื่อง การหาร ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(3), 185-192.

สมฤทัย เย็นใจ และกุณฑลีรัฐ พิมพิลา. (2565) . การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษา ครูคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิด CCR. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 228-239.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อัครพล พรมตรุษ. (2565) . การพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการแบบเปิด: การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(2), 61-75.

Hiebert, J., & Carpenter, T. P. (1992). Learning and teaching with understanding. In D. A. Grouns (Eds.), Handbook of research on mathematics teaching and learning (pp. 65-92). New York: Macmillan.

Inprasitha, M. (2011). One feature of adaptive lesson study in Thailand: Designing a learning unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47-66.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Kilpatrick, J., Swafford, J., & Findell, B. (2001). The strands of mathematical proficiency. In J. Kilpatrick, J. Swafford, & B. Findell (Eds.), Adding it up: Helping children learn mathematics (pp. 115-120). Washington, DC: National Academy Press.

Nohda, N. (2000). Teaching by Open-Approach Method in Japanese Mathematics Classroom. In Nakahara, T. and Koyama, M. (Eds.), Proceeding of the 24th Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education. Hiroshima: Hiroshima University.