การประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ ในการประเมินหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ประยุกต์ใช้การจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง และจุดที่สามารถพัฒนาได้ของหลักสูตร มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิต บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 24 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการของการจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ ผลการวิจัยพบว่า หลักการที่ 1 การมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่ชัดเจน จุดแข็ง คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) จุดที่สามารถพัฒนาได้ คือ พิจารณาแสดงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของคณะและมหาวิทยาลัย หลักการที่ 2 การขยายโอกาสและสนับสนุนความสำเร็จ จุดแข็ง คือ ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบเชิงรุกทุกรายวิชา จุดที่สามารถพัฒนาได้ คือ พิจารณากำหนดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ต้องการของผู้สำเร็จการศึกษา และมอบหมายรายวิชาที่เป็นหลักในการพัฒนาทักษะเหล่านั้น หลักการที่ 3 ความคาดหวังสูง จุดแข็ง คือ หลักสูตรมีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น มีการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการวิจัย การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ จุดที่สามารถพัฒนาได้ พิจารณากำหนดเกณฑ์ และวิธีการประเมินการบรรลุ/ไม่บรรลุ PLOs หลักการที่ 4 การออกแบบการสอนย้อนกลับ จุดแข็ง คือ หลักสูตรมีการทำ Curriculum mapping ที่แสดงให้เห็นถึงการผลักดัน PLOs ของรายวิชาต่างๆ จุดที่สามารถพัฒนาได้ คือ แต่ละรายวิชาพิจารณาสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา (CLOs) และแจ้งไปยังผู้เรียน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฐิติมา ญาณะวงษา, สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนีย์ เงินยวง และ น้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 279-291.
เถลิงพร เต้าตะโร, สุธานี บุญญาพิทักษ์, และ วัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน. (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินทางการศึกษา (4 ปี) โดยประยุกต์ใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตร (AUN-QA). AL-NUR JOURNAL OF GRADUATE SCHOOL, 13(24), 149-164.
ธวัชชัย ปินเครือ. (2563). การประเมินผลโครงการต้นแบบตำบลฟันดี ตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(2), 83-97.
ประจักษ์ น้อยเหนื่อย, ศรายุทธ รัตนปัญญา และ สุชารัตน์ ดิสขำ. (2566). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(2), 1-13.
ฟารีดา หีมอะด้ำ. (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินโดยประยุกต์ใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร AUN – QA. วารสารอัล-ฮิมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 8(15), 77-100.
มาเรียม นิลพันธุ์, อรพิน สิริสัมพันธ์, วิสาข์ จัติวัตร์, วิสูตร โพธิ์เงิน และ อธิกมาส มากจุ้ย. (2560). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, 10(2), 1198-1216.
ราณี วงศ์คงเดช, ดรุณี พ่วงพรพิทักษ์ และ อดิศร วงศ์คงเดช. (2564). บทเรียนการดำเนินงานตามนโยบายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เขตสุขภาพที่ 7. 10(1), 142-154.
สมเกียรติ อินทสิงห์, กนกวรรณ อังกสิทธิ์, ปริยาณี หอมสุวรรณ, พิศณุ รอตโกมิล และชัยสิทธิ์วิริยะชาญไพร (2565). การออกแบบหลักสูตรวิชาชีพครูตามแนวคิดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอรน. 16(2), 120-134.
ASEAN University Network. (2020). The Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0. Bangkok: Chulalongkorn University.
Pramono, S. E., Solikhah, B., Widayanti, D. V., & Yulianto, A. (2018). Strategy to Improve Quality of Higher Education Institution Based on AUN-QA Standard. International Journal for Innovation Education and Research, 6(9), 141-152.
Spady, W. G. (1994). Outcome-Based Education: Critical Issues and Answers. Arlington: American Association of School Administrators.
Yusof, R., Othman, N., Norwani, N. M., Ahmad, N. L. B., & Jalil, N. B. A. (2017). Implementation of outcome- based education (OBE) in accounting programme in higher education. Academic Research Business Social Science, 7(6), 1186-1200.