การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะสำหรับบุคลากรด้านงานบริหารงบประมาณ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4

Main Article Content

จิราพรณ์ วงศ์ฮาดจันทร์
สุชาติ หอมจันทร์
กระพัน ศรีงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะสำหรับบุคลากรด้านงานบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4  2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สมรรถนะกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการ
โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่มเครื่องมือเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สมรรถนะที่พัฒนาขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จากกลุ่มตัวอย่าง 600 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามปลายปิด พบว่า 1) ตัวบ่งชี้ที่ได้พัฒนาขึ้นมี 3 ด้าน 34 ตัวบ่งชี้ โดยเรียงน้ำหนักองค์ประกอบ ด้านทักษะ 10 ตัวบ่งชี้ ด้านคุณลักษณะ 11 ตัวบ่งชี้ ด้านความรู้ 13 ตัวบ่งชี้  มีค่า .98 .80 และ .78 ตามลำดับ 2) ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 297.42 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 190 ค่าความน่าจะเป็นทางสถิติ เท่ากับ .08 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.56 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณเท่ากับ .03 ค่าดัชนีระดับความสอดคล้อง เท่ากับ .97 ค่าดัชนีระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว เท่ากับ .91 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ เท่ากับ .99 แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วงศ์ฮาดจันทร์ จ., หอมจันทร์ ส. . ., & ศรีงาน ก. (2024). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะสำหรับบุคลากรด้านงานบริหารงบประมาณ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(4), 19–38. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4082
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชวนพิศ สยามประโคน. (2557). การบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปราณี คำมา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. https://library.msu.

ac.th/msulibrarygo/. https://opac.msu.ac.th/bibitem?bibid=b00239767.

วรทัย ประจักษ์เพิ่มศักดิ์. (2561). เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีในยุค 4.0. วารสารการอาชีวะและ เทคนิคศึกษา, 8(16), 100-105.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. (2565). รายงานผลการประเมิน ความพึงพอใจด้านการบริหารและการจัดการศึกษารวมทั้งการให้บริการของสำนักงาน เขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. นครราชสีมา : กลุ่มอำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). แนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ความสามารถทักษะ และสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพัฒนาระบบจำแนก ตำแหน่งและ ค่าตอบแทน (สำนักงาน ก.พ.).

อมรทิพย์ ทิพย์ประทุม. (2565). การดำเนินงานด้านงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. การประชุมวิชาการ และจัดนิทรรศการ SYMPOSIUM “คนคุณธรรม ล้ำคุณภาพ” โรงเรียนวิถีพุทธ ครั้งที่ 1, นครราชสีมา, ประเทศไทย.

Luther Gulick. (1937). แนวคิดภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร POSDCoRB. Paper on the Science of Administration: Notes on the Theory of Organization.https://adisony.blogspot.com/2012/10/luther-gulick.html?view=magazine.