แนวทางการโค้ชการปฏิบัติงานรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น 2) หาแนวทาง และ 3) ประเมินแนวทางการโค้ชการปฏิบัติงานรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสถานศึกษาที่มีรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 ปี จำนวน 49 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32 - 0.96 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และประเมินแนวทางโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การโค้ชการปฏิบัติงาน สภาพปัจจุบันทุกด้านในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทักษะการโค้ชสภาพปัจจุบัน ในภาพรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการโค้ชสภาพปัจจุบัน ในภาพรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยมีค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.695-0.843 และ ด้านกระบวนการโค้ช สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง 2) แนวทางการโค้ชการปฏิบัติงานรองผู้อำนวยการสถานศึกษา องค์ประกอบทักษะการโค้ช มี 3 ด้าน 16 แนวทาง และองค์ประกอบกระบวนการโค้ช มี 3 ด้าน 14 แนวทาง รวมทั้งหมด 30 แนวทาง 3) การประเมินแนวทางในด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกรียงศักดิ์ นิรัติพัฒนะศัย และคณะ. (2555). Untold stories of executive coaching Thailand. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจมีเดีย.
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอาง. (2555). การพัฒนารูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูพาณิชกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิพากร กิ่งมิ่งแฮ (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). วิธีวิทยาการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ทรีบีการพิมพ์และตรายาง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก http://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอน และการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นครปฐม.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ช เพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
ศศิมา สุขสว่าง. (2560). ทักษะการโค้ชสำหรับผู้นำ. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566 จาก, https://www.hcdcoaching.com/17020327.
ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2557). การโค้ชเพื่อผลการปฏิบัติงานที่ยอดเยี่ยม. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
สิราวิชญ์ วัชรกาฬ. (2562). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กรุงเทพมหานคร. (ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2562). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพลส.
อุทัย หิรัญโต. (2543). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Guskey.T.R. (2000). Evaluating professional development. CA : Corwin Press.
Megginson, D & D, Clutterbuck (2010) Everyone Needs a Mentor: Fostering Talent in your organization. (London: Chartered Institute of Personnel and Development,)