การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H ร่วมกับชุดฝึก การอ่านจับใจความ เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความ และการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H ร่วมกับชุดฝึกการอ่านจับใจความ ตามเกณฑ์ 75/75 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H ร่วมกับชุดฝึกการอ่านจับใจความ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลัง 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H ร่วมกับชุดฝึกการอ่านจับใจความ ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนสุขานารี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกการอ่านจับใจความ แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบการอ่านจับใจความ แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ dependent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H ร่วมกับชุดฝึกการอ่านจับใจความ เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 85.61/89.75 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.7616 3) นักเรียนมีความมีความสามารถการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรองทิพย์ สุราตะโก. (2559). ผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิค 5W1H และผังกราฟิกที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(1).
จุฑารัตน์ พันธุ. (2556). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์ 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ในรายวิชาโลจิสติกส์. รายงานวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เจนจิรา กำชัยถาวรรัตนะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชนกพร สุริโย. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ เทคนิค 5W1H ประกอบกับแบบฝึก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชวนพิศ คชริน. (2555). การพัฒนาชุดการสอนแบบ 5W1H ในการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชา ภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ดวงพร เฟื่องฟู. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นันทวรรณ โอดสู และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2563). กระบวนการจัดการศึกษาวิชาภาษาไทยของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 7(2), 88-101.
นูรียะห์ บือแน. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H ร่วมกับการใช้นิทานประกอบ รายวิชาอัลอัคลากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Islamic and Contemporary Issues, 2(1), 15-30.
บรัสกร คงเปี่ยม. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มุกดามณี ศรีพงษ์เพริศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รวิสรา จิตรบาน. (2562). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 5W1H เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี วิชาภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม. ขอนแก่น: โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม.
ศิริพร ลี้รชตาสุวรรณ. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วย วิธีอ่านแบบโอเคไฟว์อาร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสันกำแพง. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
โสภิตา เสนาะจิต. (2560). การพัฒนาเทคนิคการประเมินการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนด้วยการสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐานทางทฤษฎีและการวัดแบบราสช์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.