การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบทางการศึกษา

Main Article Content

ปรมะ แก้วพวง
ชวลิต ชูกำแพง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยจากบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบทางการศึกษา และ 2) สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บทความวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ ที่พิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลวิจัย ERIC - Education Resources Information Center ตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2566 จำนวน 15 เรื่อง เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัย พบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ ทำในภูมิภาคเอเชียมากที่สุด   คิดเป็น ร้อยละ 66.67 เป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2565 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 ใช้รูปแบบการวิจัย       เชิงทดลอง (Quasi-experimental) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาครู มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.33 สำหรับตัวแปรจัดกระทำที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Design thinking approach มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 และ 2) ผลการสังเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยส่วนใหญ่นำไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน คิดเป็นร้อยละ 26.67

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แก้วพวง ป., & ชูกำแพง ช. (2024). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบทางการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(4), 191–205. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/3596
บท
บทความวิจัย

References

ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ และ ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(3): 258-273.

ลัดดาวรรณ ณ ระนอง. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้ทฤษฎีการปรึกษาในขอบข่ายงานแนะแนวและ การปรึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2): 1488-99.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Battelle for Kids. (2019). Framework for 21st Century Learning. http://static.battelleforkids.org/ documents/ p21/P21_Framework_Brief.pdf

Bellanca, J. A. (2010). 21st century skills : Rethinking how students learn.United States: Solution Tree Press

Chon, H. & Sim, J. (2019). “From Design Thinking to Design Knowing: An Educational Perspective.” Art, Design & Communication in Higher Education, 18(2): 187-200.

Choueiri, L. S., & Mhanna, S. (2013). “The Design Process as a Life Skill.” Procedia-Social and Behavioral Sciences, 93: 925-29.

d. school at Stanford University. (n.d.). (2023). “Design Thinking Bootleg.” Retrieved August 18, 2017, from https://dschool.stanford.edu/resources/the-bootcamp-bootleg

Goldschmidt, G. & Rogers, P. (2013). “No Title.” Design Studies, 34(4): 454-71.

HPI (Hasso Plattner Institute). (n.d.). (2018). Retrieved May 18, 2020, from https://hpiacademy. de/en/design-thinking/what-is-design-thinking.html

IDEO (Design Thinking for Educators). (2012). Retrieved September 06, 2016, from http://www. designthinkingforeducators.com/toolkit/

Johansson-Sköldberg, U., Woodilla, J., & Çetinkaya, M. (2013). “Design Thinking: Past, Present and Possible Futures.” Creativity and Innovation Management, 22(2): 121-46.

Leifer L.J. & Steinert M. (2011). “Dancing with Ambiguity: Causality Behavior, Design Thinking, and Triple-Loop-Learning.” Information Knowledge Systems Management, 10(2011): 151-173.

Lor, R. R. (2017). Design Thinking in Education: A Critical Review of Literature. ฺBangkok Thailang: International Academic Conference on Social Sciences and Management.

Noweski, C., Scheer, A., Büttner, N., von Thienen, J., Erdmann, J., & Meinel, C. (2012). Towards a Paradigm Shift in Education Practice: Developing Twenty-First Century Skills with Design Thinking. New York: Springer Heidelberg.

Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2018). The Future of Education and Skills: Education 2030.

Seidel, V. P., & Fixson, S. K. (2013). “Adopting Design Thinking in Novice Multidisciplinary Teams: The Application Andlimits of Design Methods and Reflexive Practices.” Journal of Product Innovation Management, 30(1): 19-33.