การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง หน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

พนิดา ขูรูรักษ์
อรัญ ซุยกระเดื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง หน้าที่พลเมือง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความมีวินัยของนักเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเทศบาล 4 เฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งหมด 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด จำนวน 10 แผน มีค่าคุณภาพระหว่าง 4.82-4.90 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25-1.00 และค่าความเชื่อมั่น = 0.83 3) แบบสังเกตความมีวินัย จำนวน 7 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00  และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง หน้าที่พลเมือง มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.12/82.25 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด ครั้งที่ 1 มีคะแนนด้านความมีวินัยอยู่ในระดับพอใช้ ครั้งที่ 2 มีคะแนนด้านความมีวินัยอยู่ในระดับดี และครั้งที่ 3 มีคะแนนด้านความมีวินัยอยู่ในระดับดี 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยาดา เหง่าบุญมา และจิรดาวรรณ หันตุลา. (2565). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนเชิงรุกโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง วงจรไฟฟ้า ระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยบูรพา, 33(2), 90-102.

ประยูรศรี กวานปรัชชา, พจมาน ชำนาญกิจ และภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมด้านความมีวินัยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 52-60.

ภัสรามาศ โพธิญาณ และอัฐพล อินต๊ะเสนา. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านจับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับ

เทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, 7(3), 232-241.

มนตรี เฉกเพลงพิน. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสอน Think-Pair-Share. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 390-402.

โรงเรียนเทศบาล 4 เฉลิมพระเกียรติ. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา. กาฬสินธุ์: โรงเรียนเทศบาล 4 เฉลิมพระเกียรติ

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2544). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

สวนดุสิตโพล. (2564). โพลชี้เด็กไทยเก่งเทคโนโลยี แนะเพิ่มวิเคราะห์-เคารพผู้ใหญ่. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566, จาก เดลินิวส์: http://d.dailynews.co.th/politics/817885/

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

Lyman, F. (1987). Think-Pair-Share: An Ending Teaching Technique. United States of America: MAA-CIE Cooperative News.

Sampsel, A. (2013). Finding the Effects of Think-Pair-Share on Student Confidence and Participation. Honors Projects. Retrieved

fromhttps://scholarworks.bgsu.edu/honorsprojects/