การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ระคน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ภานุภณ วงษ์จูม
สมทรง สิทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมอญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2 จำนวน 13 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง และ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถการ   แก้โจทย์ปัญหา แบบอัตนัย 10 ข้อที่มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.55-0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 - 0.80 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 20 ข้อ ที่มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.45-0.8 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 - 0.80 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ มีผลการวิจัย คือ 1) ความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีคะแนนเฉลี่ย 39.69 คิดเป็นร้อยละ 79.21 นักเรียนผ่านเกณฑ์ 13 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีคะแนนเฉลี่ย 14.54 คิดเป็นร้อยละ 72.69 แลนักเรียนผ่านเกณฑ์ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 ของนักเรียนทั้งหมด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลมสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จินดา พราหมณ์ชู. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิราวรรณ เทพจินดา และคณะ. (2565). การศึกษาสภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ อาจารย์และครูพี่เลี้ยง. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(1), 154-166.

ชญาณิศา เป็งจันทร์ นพพร ธนะชัยขันธ์ และสุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2560). ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 71-82.

ชรินดา สุขแสนชนานันท์. (2555). การพัฒนาแนวคิดและความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิดเรื่อง พลังงานความร้อนของนักเรียนชั้นมัธมศึกษาตอนต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบอิงบริบท. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ . (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5 .กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และวัชรา เล่าเรียนดี. (2554). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 3(1), 109-121.

พิเชษฐ เทบํารุง. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทและปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิมพิชา เอกพันธ์และมนตรี ทองมูล. (2563). การพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 เรื่องทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(9), 111-125.

โรงเรียนบ้านมอญ. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562. ชัยภูมิ: โรงเรียนบ้านมอญ.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีนิยาสาสน์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การจัดการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

เอกรัตน์ ศรีตัญญู. (2555). การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานในวิชาเคมี. ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 27 (2): 33-47.

Bennett, Judith; & Holman, John. (2002). Context-based Approaches to the Teaching of Chemistry : What are they and What are their Effect?. In Chemical Education: Toward Research-based Practice. Netherlands: Kluwer Academic Publishers.

Bloom, B. (1976). Self-regulation of action and affect. In Roy F. Baumeister and Kathleen D. Vohs. Handbook of Self-Regulation. New York: The Guilford Press.

Crawford, M. L. (2001). Teaching Contextually: Research, Rationale, and Techniques for Improving Student Motivation and Achievement in Mathematics and Science. Texas: CCI Publishing, Inc.

Darkwah, V.A. (2006). Undergraduate nursing student’level of thinking and self–efficacy in patient education in Context-based learning Program. Dissertation M.N. (Nursing) Alberta. Faculty of Nursing, University of Alberta.

De Jong, O. (2006.Making chemistry meaningful: Conditions for successful contextbased teaching. Education Quimica, 17, 215–221.

Gillbert, J. K. (2006). On the nature of “context” In chemistry education. International Journal of Science Education, 28(29), 957-976.

Polya, George. (1985). How to Solve It. New Jersey: Prince to University Press.

Seel, N. M. (2012). Encyclopedia of the science of learning. London: Springer Science + Business Media.