ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจของนักศึกษา ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่

Main Article Content

พุทธชาติ ทองโคตร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน จำนวน 1 แผน มีค่าความเหมาะสม 4.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.86-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.24-0.82 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.42-0.82 และค่าความเชื่อมั่น 0.85 แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.82-1.00 อำนาจการจำแนกระหว่าง 0.28-0.84 และมีความเชื่อมั่น 0.95 แบบประเมินความพึงพอใจ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.78-1.00 และความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เขียวน้ำชุม. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนบ้านดงน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กัญจน์วิภา ใบกุหลาบ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565.

จิตลดา เฮงชัยโย (2562) การศึกษาเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา. วารสารครุพิบูล. 6(2). 273-282.

จิรพันธุ์ ทัศนศรี. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนโยรูปแบบซิปปากับแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิราภรณ์ เพ็ชรรัตน์. (2562). การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ. สงขลา.

โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16.

ชลธิชา สุรัตนสัญญา ฐานนันท์ มณีกุล วานิช ทองเกตุ สิริพัฒน์ รันดาเว สุรเดช สุวรรณชาตรี และ เอกฉัตร วิทยอภิบาลกุล. (2561). การพัฒนาเทคนิคการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์สำหรับนิสิตหลักสูตรนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระพงษ์ สุขสกล. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 228 น.

บุษราคัม บุญกลาง และคณะ (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(1), 136-154.

ประภัสสร กลีบประทุม. (2561). ผลของการจัดการเรียนโดยการใช้กรณศึกษา ที่มีต่อการเรียนวิชาการพัฒนาภาวะผู้นำและความพึงพอใจต่อการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. วารสาร รวมบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ประจำปี 2561, 3 (1), 474-482.

ปรัชญานันท์ นิลสุข. (2545). กระบวนการเรียนรู้ การเชื่อมโยงและรูปแบบการสอนผ่านเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแก้ปัญหาและถ่ายโยงการเรียนรู้. วารสารวิทยบริการ. (มกราคม-เมษายน 2545): 19-29.

ปวันรัตน์ ธัญญะผล กัลยา เทียนวงศ์ และชัยรัตน์ โตศิลา (2565). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 45(2), 1-16.

พุทธชาติ ทองโคตร. (2565). การบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ของนักศึกษาปริญยาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). สอนเขียนแผนบูรณาการบนพื้นฐานเด็กเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 172 น.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะ มาสเตอร์ กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning). วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17.

วันเพ็ญ สุลง. (2561). การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการวิเคราะห์ วิชาการบริหารงานคุณภาพในองค์การ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วัลลภ มานักฆ้อง. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับพิเศษ รวบรวมผลงานวิจัย โครงการเผยแพร่งานวิจัย นิสิตระดับการศึกษามหาบัณฑิต ประจำปี 2550. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วทัญญู สุวรรณประทีป และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานและแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 8(2), 69-78.

วิชัย ตันศิริ. (2549). อุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 172 น.

วิทวัส ดวงภุมเมศ. (2548). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์. กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลและประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สุฟิตรี ฮินนะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา การคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับบที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา องค์การมหาชน.

Grigoroudis, E. (2009). Customer satisfaction evolution. New York: Springer.

Johnson, D.W., & Johnson, R.T. (1987). Learning together and alone: Cooperative, competitive, and individualistic. Prentice Hall.

Rensis Likert (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Retrieved November 28, 2023 from

https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ENEDU/article/download/5830/5467/18905